Henge คือปรากฎการณ์การขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ ที่มีความสำคัญต่อสถานที่ ซึ่งในอดีตเคยใช้เป็นปฎิทินทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบัน Henge เป็นการสร้างความจดจำของพื้นที่เชิงวันเวลาและสถานที่ และเป็น destination ในการท่องเที่ยว สามารถแบ่งประเภทของ Henge ได้เป็น 3 แบบคือ

1. Phenomenon Henge หรือ มุมมองอัสดงสาธารณะแบบปรากฏการณ์ เป็นการค้นหาทิศทางการตกของดวงอาทิตย์จากสัณฐานและองค์ประกอบเมือง

2. Landmark Henge หรือ มุมมองอัสดงสาธารณะแบบภูมิสัญลักษณ์ เป็นการเพิ่มความสำคัญและสร้างความจดจำระหว่างสถานที่กับการตกของดวงอาทิตย์

3. Framing Henge หรือ มุมมองอัสดงสาธารณะแบบกรอบภาพ เป็นการเสาะหาสิ่งปลูกสร้างหรือองค์ประกอบของเมือง ที่ทำให้เกิดกรอบภาพ ซึ่งโดยมากเป็นช่องเปิดของโบราณสถาน

Henge มีเงื่อนไขที่สำคัญคือเรื่องของเวลา โดย Henge ของแต่ละพื้นที่นั้นจะมีเวลาที่แตกต่างกันไป จึงแบ่งพื้นที่การพัฒนาออกเป็นตามฤดูกาลได้ออกเป็นทั้งหมด 3 ย่านคือ

1. มุมมองอัสดงสาธารณะฤดูฝนย่านราชดำเนินกลาง – ภูเขาทอง

2. มุมมองอัสดงสาธารณะฤดูร้อนย่านบำรุงเมือง

3. และมุมมองอัสดงสาธารณะฤดูหนาวย่านท่าพระจันทร์ – ท่าเตียน

โดยโครงการฟื้นฟูบูรณะพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อมุมมองอัสดงสาธารณะ จะถูกพัฒนาผ่านกลยุทธ์ 3 อย่างคือ การขับเน้นมุมมองอัสดงสาธารณะ (Henge) ต่อยอดมรดกวัฒนธรรมที่มีอยู่ และรองรับการเข้ามาใช้งานของนักท่องเที่ยว ประกอบกับการให้ความสำคัญในการออกแบบเมืองผ่านเครื่องมือ ฟื้นฟูบูรณะย่าน และปรับปรุงภูมิทัศน์เมือง

ย่านท่าพระจันทร์-ท่าเตียน หรือย่านที่เกิด Henge ในฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนธันวาคม-มีนาคม

ภายในย่านมีพื้นที่ที่สามารถเกิด Henge ได้ทั้งหมด 5 จุด แบ่งเป็นแบบปรากฎการณ์ 2 จุด บริเวณถนนท้ายวังและถนนหน้าพระลาน แบบภูมิสัญลักษณ์วัดอรุณฯ และแบบกรอบภาพ วัดพระแก้วและวัดโพธิ์ฯ ในย่านนี้มีองค์ประกอบเมืองที่สำคัญคือแม่น้ำขนาดใหญ่ แลนด์มาร์กและพื้นที่สาธารณะที่มีความสำคัญระดับเมือง อีกทั้งยังเป็นย่านที่เต็มไปด้วยมรดกวัฒนธรรมที่มีความสำคัญลำดับที่1 จึงให้ย่านนี้เป็นย่านที่แสดงอัตลักษณ์ผ่านตีม มรดกเมืองน้ำ 

โครงการฟื้นฟูบูรณะย่านท่าเตียนและท่าเรือท่าเตียน มีองค์ประกอบของเมืองที่สำคัญภายในย่านคือ พื้นที่โล่งสาธารณะ ท่าเรือ และพื้นที่ริมน้ำ โดยมีลักษณะการใช้งานของอาคารในรูปแบบของอาคารพาณิชยกรรม shophouse และอาคารที่ถูกทิ้งร้าง ซึ่งในพื้นที่นี้สามารถเกิด Henge แบบปรากฎการณ์ได้ แต่ยังขาดการออกแบบเพื่อขับเน้น Henge

เดิมทีท่าเรือจะอยู่ตรงกลางถนนท้ายวัง และฝั่งตรงข้ามอาคารพาณิชย์เป็นลานโล่งที่เป็นพื้นที่จอดรถ จึงเสนอให้ทำการย้ายท่าเรือให้ไปอยู่ฝั่งอาคารพาณิชย์ และเพิ่มอาคารพาณิชย์ในฝั่งลานโล่งเพื่อสร้าง urbansacape และกำหนด build to line อาคารให้ตรงกับถนนท้ายวังเพื่อปรับองศาถนน

โดยพื้นที่สาธารณะหน้าอาคารจะเป็น public space เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มาดื่มด่ำกับบรรยากาศของ Henge ส่วนทางเดินใต้อาคารและพื้นที่อาคารชั้นสองจะทำหน้าที่เป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะเพื่อลดการกระจุกตัวของนักท่องเที่ยว

ซึ่งเมื่อตะวันลับฟ้าแล้วตัวสถาปัตยกรรมของย่านจะทำหน้าที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ใช้งานพื้นที่ต่อ โดยการกำหนด guideline อาคาร lighting ป้ายสัญลักษณ์ และ mood and tone ของย่านเพื่อเป็น clue ของความต่อเนื่องในการรับรู้ ประกอบกับการกำหนดจุดและตำแน่งของไฟ เพื่อขับเน้นสถานที่ สี และ material ของอาคาร ทั้งอาคารภายในย่านและอาคารริมน้ำ

ย่านบำรุงเมือง ย่านที่เกิด Henge ในฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคม-กรกฎาคม

มีพื้นที่ที่สามารถเกิด Henge ทั้งหมด 4 จุด แบ่งเป็น Henge แบบภูมิสัญลักษณ์เสาชิงช้า และแบบกรอบภาพวัดราชประดิษฐ์ วัดราชบพิธ และวัดสุทัศน์ ในย่านนี้มีองค์ประกอบเมืองที่สำคัญคือคูคลอง แลนด์มาร์กและพื้นที่สาธารณะที่มีความสำคัญระดับเมือง เป็นย่านที่มีความโดดเด่นทางด้านมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ หรือวิถีชีวิตของคนในพื้นถื่น จึงให้ย่านนี้เป็นย่านที่แสดงอัตลักษณ์ผ่านตีม กินดื่มวิถีไทยจีน

โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ทางสัญจรถนนบำรุงเมืองเพื่อมุมมองอัสดงสาธารณะเสาชิงช้า องค์ประกอบของเมืองที่สำคัญภายในย่านประกอบไปด้วย พื้นที่โล่งสาธารณะ pocket space และพื้นที่ริมน้ำ โดยมีลักษณะการใช้งานของอาคารในรูปแบบของอาคารพาณิชยกรรม shophouse และอาคารที่ถูกทิ้งร้าง

ซึ่งปัญหาของพื้นที่บนถนนบำรุงเมืองคือ ไม่มีพื้นที่สาธารณะรองรับ และมีทางเท้าที่ไม่ต่อเนื่องกัน ดังนั้นเครื่องมือทางสถาปัตยกรรมที่จะนำมาใช้ คือการปรับเปลี่ยนการใช้สอยพื้นที่อาคาร และเพิ่ม pocket space ภายในอาคารไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ดาดฟ้า ระเบียง หรือทางเดิน arcade เพื่อรองรับการเข้ามาของนักท่องเที่ยว

โดยเมื่อถึงเวลาที่เกิด Henge ถนนบำรุงเมืองจะถูกปิดตั้งแต่เวลา 17.00-19.00 น. เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ดื่มด่ำกับบรรยากาศของ Henge ได้อย่างเต็มที่ โดยที่สามารถเลือกวิวในการดื่มด่ำ Henge ได้หลายระดับ ไม่ว่าจะเป็นทางเดินเท้าระดับสายตา ระเบียงชั้นสอง หรือพื้นที่ดาดฟ้าชั้นสาม

และเมื่อตะวันลับฟ้าแล้ว แสงไฟ และความโดดเด่นของอาคาร จะดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ใช้งานพื้นที่ต่อ และจากการรีวิว material เช่นเดียวกัน จะกำหนดค่าความสว่างของไฟที่พื้นผิวของอาคาร ที่มาจากแสงช่วงเวลาที่เกิด Henge เพื่อความต่อเนื่องทางการรับรู้ ประกอบกับการกำหนดจุดที่จะทำ lighting เพื่อขับเน้นสถานที่ สี material และ mood and tone ของความเป็นย่านกินดื่มแบบวิถีไทยจีน

ย่านราชดำเนินกลาง-ภูเขาทอง หรือย่านที่เกิด Henge ในฤดูฝน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม

มีพื้นที่ที่สามารถเกิด Henge ทั้งหมด 4 จุด แบ่งเป็น Henge แบบภูมิสัญลักษณ์ภูเขาทองและอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย และแบบกรอบภาพโลหะปราสาทและวัดเทพธิดาราม ในย่านนี้มีองค์ประกอบเมืองที่สำคัญคือคูคลองและแลนด์มาร์กที่มีความสำคัญระดับเมือง เป็นย่านที่เต็มไปด้วยมรดกวัฒนธรรมที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ผ่านการตีความหลายยุคสมัย จึงให้ย่านนี้เป็นย่านที่แสดงอัตลักษณ์ผ่านตีม ประตูเมืองสู่โลกวัฒนธรรมร่วมสมัย

โครงการพัฒนาย่านภูเขาทองเพื่อมุมมองอัสดงสาธารณะ มีองค์ประกอบของเมืองที่สำคัญภายในย่านประกอบไปด้วย พื้นที่สาธารณะ pocket space และพื้นที่ริมน้ำ โดยมีลักษณะการใช้งานของอาคารในรูปแบบของอาคารพาณิชยกรรม shophouse และอาคารที่ถูกทิ้งร้าง ซึ่งความพิเศษของพื้นที่นี้คือสามารถเกิด Henge ได้ทั้งแบบภูมิสัญลักษณ์และแบบกรอบภาพ

จึงเสนอให้เพิ่มการใช้งานของอาคารบริเวณถนนจักรพรรดิพงษ์เพื่อ Henge แบบภูมิสัญลักษณ์ และปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณหน้าวัดสระเกศเพื่อ Henge แบบกรอบภาพ โดยการกำหนดไม่ให้มีพืชพันธุ์และสิ่งปลูกสร้างบริเวณประตูวัดในรัศมี 3 ม. และเพิ่มการใช้งานอาคารบนถนนจักรพรรดิพงษ์ สูงอย่างน้อย 16ม. หรือตึกสูง5-6ชั้น เพื่อเทควิวภูเขาทอง และทำการควบคุมความสูงของอาคารบริเวณถนนบริพัตรไม่ให้สูงเกิน 36ม.

ดังนั้นหลังจากทำการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณหน้าประตูวัดแล้ว อาคารชั้น 1 และชั้น 2 จะทำหน้าที่รองรับนักท่องเที่ยวที่มารอชม Henge แบบกรอบภาพ และชั้น 3 ขึ้นไปรองรับนักท่องเที่ยวที่มาดื่มด่ำกับ Henge แบบภูมิสัญลักษณ์

และเมื่อตะวันลับฟ้า แสงเรืองรองจากการขับเน้นมรดกวัฒนธรรม และทางเดินเท้าที่สวยงาม จะดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ใช้งานพื้นที่ต่อ และจากการรีวิว material ในย่านภูเขาทอง จะกำหนดค่าความสว่างของไฟที่พื้นผิวของอาคาร อ้างอิงจากช่วงเวลาที่เกิด Henge เช่นเดียวกัน ประกอบกับการกำหนดจุดที่จะทำไลท์ติ้งเพื่อขับเน้นสถานที่ สี material และ mood and tone ของความเป็นย่านประตูเมืองสู่มรดกวัฒนธรรมร่วมสมัย

หากโครงการถูกพัฒนาแล้วจะสามารถเพิ่มพื้นที่สาธารณะจากเดิม 7.8% เป็น 31.6% ของพื้นที่ โดยมี Henge เป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการใช้งานของพื้นที่สาธารณะ ทั้งในเชิง วัน เวลา และสถานที่ ผ่านการขับเน้นมุมมองอัสดงสาธารณะ

อีกทั้งยังทำให้พื้นที่ที่ยังไม่ถูกขับเน้นและให้ความสำคัญในการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ กลับมามีชีวิตชีวา มีเรื่องราว และเกิดกิจกรรมตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นตอนเช้า กลางวัน เย็น หรือตอนกลางคืน ซึ่งพื้นที่ที่มีความเป็น place ที่โดดเด่นอย่างกรุงรัตนโกสินทร์ การซึมซับ รับรู้ และชื่นชมมรดกวัฒนธรรมที่มีความหมายเหล่านี้ ก็ยังขาดการตระหนักถึงการใช้งานอย่างถูกที่และถูกเวลา ดังนั้น Henge จะมาเป็นปัจจัยในการกระตุ้นกิจกรรมที่ควรค่าแก่การสืบถอดและต่อยอด ผ่านการขับเน้นมุมมองอัสดงสาธารณะหรือ The Rattanakosin Henge