ในปัจจุบันมีรูปแบบการพัฒนาเมืองที่เกิดขึ้นมากมายส่งผลให้เกิดการพัฒนาเมืองโดยรุกล้ำพื้นที่ป่าไม้และธรรมชาติ โดยวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้จะเป็นการนำเสนอแนวทางการพัฒนาเมืองควบคู่ไปกับการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้เพื่อสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยโครงการฟื้นฟูเมืองเก่าแพร่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจป่าไม้สร้างสรรค์เป็นโครงการที่สร้างระบบการพัฒนาเมืองโดยคำนึงถึงตัวแปรและกลไกทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างข้อเสนอการอยู่ร่วมกันระหว่างพื้นที่เมืองและพื้นที่ป่าไม้ ผ่านกระบวนการวางแผนโครงสร้างของระบบเพื่อให้เกิดการพึ่งพากันของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างให้เกิดประโยชน์ที่ครอบคลุมทุกด้าน โดยจับตัวแปร 2 ตัวแปรขึ้นไปมารวมกันเพื่อแก้ปัญหาซึ่งกันและกัน เช่น แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการดึงเศรษฐกิจเข้ามาช่วยสร้างมูลค่าและคุณค่าให้คนเห็นถึงความสำคัญ นอกจากนี้ยังคำนึงถึงการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้และสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าที่ควบคู่ไปกับการรองรับการพัฒนาเมืองในอนาคต

โครงการฟื้นฟูเมืองเก่าแพร่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจป่าไม้สร้างสรรค์แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักคือส่วนการวางแผนเพื่อพัฒนาเมืองตั้งแต่ต้นน้ำกลางน้ำและปลายน้ำของระบบอุตสาหกรรมป่าไม้ โดยเริ่มสร้างรูปแบบการจัดการผลผลิตเพื่อคำนวณผลผลิตในรอบปีและในระยะยาวเพื่อให้ตอบความต้องการการใช้ การพัฒนาพื้นที่แปรรูปเมื่อมีความต้องการใช้ไม้เพิ่มขึ้นในอนาคต และการเชื่อมโยงสู่พื้นที่ต่าง ๆ ตามการพัฒนาของเส้นทางรถไฟ และเป้าหมายของโครงการมุ่งเน้นให้เกิดการสร้างแหล่งงานที่เกี่ยวข้องกับการทำไม้ในด้านการสร้างสรรค์และการสืบทอดรูปแบบการทำไม้ให้คงอยู่ควบคู่ไปกับการรักษาอาคารโดยนำเสนอออกมาเป็นแนวทางและกระบวนการการมีส่วนร่วมของกลุ่มคนเพื่อให้เกิดภาพเมืองที่ออกแบบ

 

พื้นที่เมืองเก่าแพร่ตั้งประเด็นการพัฒนาพื้นที่ที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้ไม้มากขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมคือการกำหนดปริมาณขั้นต่ำการใช้ไม้ในพื้นที่เมืองเก่าเพื่อคงอัตลักษณ์เดิม เอื้อแนวทางการประยุกต์ใช้ไม้รูปแบบใหม่ในอาคารและสนับสนุนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมป่าไม้และยังเป็นพื้นที่เศรษฐกิจไม้รูปแบบใหม่หรือรูปแบบงาน craft ไม้ใหม่ในพื้นที่ทรงคุณค่าเดิม

ฟื้นฟูพื้นที่ริมแม่น้ำยมโดยกันแนวเขตสำหรับการฟื้นฟูระบบนิเวศริมน้ำป้องกันการรุกล้ำก่อนสร้างและปรับเปลี่ยนพื้นที่เกษตรริมแม่น้ำยมสู่พื้นที่สวนป่ารูปแบบของวนเกษตรเพื่อให้ชุมชนสามารถเข้ามาใช้งานและหาประโยชน์จากพื้นที่ได้เช่นเดิมโดยเพิ่มรูปแบบการปลูกไม้เนื้อแข็งเชิงเศรษฐกิจเข้าไปเพื่อสร้างผลผลิตตัวอย่างต่อระบบอุตสาหกรรมป่าไม้ในพื้นที่เมืองเก่า โดยในบริเวณริมน้ำยมจะเปิดพื้นที่สู่ริมแม่น้ำด้วยทางเดินโครงสร้างเบา อาทิ Board walk เพื่อให้ไม่ทำลายต่อสภาพทางธรรมชาติและให้คนสามารถเข้ามาเรียนรู้พื้นที่ทางประวัติศาสตร์การขนส่งไม้ในอดีต โดยใช้ป้าย “หันอดีต” ซ้อนภาพใสตามพื้นที่ประวัติศาสตร์และเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจใกล้ธรรมชาติ

 

ผลักดันพื้นที่โรงเรียนป่าไม้ให้กลับมามีการเรียนการสอนเป็นหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการทำไม้อีกครั้งโดยเพิ่มสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติไปด้วยเพื่อสร้างให้เห็นวงจรการทำไม้ขนาดย่อมตั้งแต่พื้นที่สวนป่า สู่พื้นที่การตากไม้ในโรงเรียนป่าไม้และพื้นที่โรงเลื่อยที่จะสอดแทรกเข้าไปใหม่โดยล้อกับอาคารโรงเรียนป่าไม้เก่า ซึ่งจะพัฒนาให้พื้นที่โรงเรียนป่าไม้เป็นห้องปฏิบัติการทดลองการทำไม้สำหรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ประกอบธุรกิจไม้ภายในเมืองและเปิดเป็นสถานที่ให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาศึกษาภายในพื้นที่รวมถึงพิพิธภัณฑ์จัดแสดงไม้สัก โดยคำนึงระบบในการขนส่งไม้แยกเส้นทางกับเส้นทางผ่อบ้านหันเมืองที่เป็นทางสำหรับคนเดินชมพื้นที่

 

เป็นพื้นที่ที่สร้างแหล่งงานให้กับคนรุ่นใหม่และยกระดับรูปแบบไม้เศรษฐกิจที่จะกระจายอยู่ทั่วพื้นที่เมืองเก่าแพร่โดยให้พื้นที่เมืองเป็นพื้นที่การทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีการคิดค้นสร้างสรรค์ขึ้น ในแต่ละย่านก็จะมีการปรับปรุงสวนขนาดย่อมจากพื้นที่ทิ้งร้างมาเป็น ป๊ะกัน Pocket park ระดับย่านเพื่อสร้างให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันระหว่างกลุ่มคนเดิมภายในพื้นและกลุ่มคนรุ่นใหม่เพื่อให้ได้มีโอกาสพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ ความชอบ การใช้งานผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ร่วมกันภายในย่าน 

 

ปรับปรุงพื้นที่ข่วงเมืองสู่ศูนย์รวมแรงบันดาลใจระดับเมืองให้คนสามารถเข้ามานั่งคิดพูดคุยถกประเด็นกัน โดยสร้างให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่าง วัด โรงเรียน ตลาด เพื่อให้เกิดการและเปลี่ยนระหว่างกลุ่มคน โดยปรังปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดแพร่สู่พื้นที่ กึ๊ดกั๋นเต๊อะ HUB พื้นที่ศูนย์รวมแรงบันดาลใจให้กับคนในพื้นที่และเป็นพื้นที่สำหรับการที่ชวนคิดชวนสร้างไอเดียโดยดึงกลุ่มคนเข้ามาในพื้นที่ผ่านการใช้ร้านค้าร้านอาหาร ที่จะเห็นการจัดแสดงรูปแบบงานไม้จากกลุ่มคนภายในพื้นที่

รูปแบบอาคารภายในพื้นที่เมืองเก่า กำหนดการควบคุมมุมมองอาคารสำคัญโดยใช้การจัดองค์ประกอบทางถนนที่ถอดรูปแบบจากลูกเล่นเชิงสล่าเป็นกรอบให้กับอาคารสำคัญ ซึ่งอาคารในพื้นที่จะถูกกำหนดให้ใช้รูปแบบลักษณะเด่นของอาคารพื้นถิ่นเดิมมาประยุกต์ 2 องค์ประกอบขึ้นไป นอกจากนี้ยังกำหนดสัดส่วนอาคารเพื่อให้เกิดการใช้ไม้อย่างคุ้มค่าที่สุดคือระยะ 2 เมตรตามแต่บริเวณรูปแบบอาคารภายในพื้นที่เมืองเก่า กำหนดการควบคุมมุมมองอาคารสำคัญโดยใช้การจัดองค์ประกอบทางถนนที่ถอดรูปแบบจากลูกเล่นเชิงสล่าเป็นกรอบให้กับอาคารสำคัญ ซึ่งอาคารในพื้นที่จะถูกกำหนดให้ใช้รูปแบบลักษณะเด่นของอาคารพื้นถิ่นเดิมมาประยุกต์ 2 องค์ประกอบขึ้นไป นอกจากนี้ยังกำหนดสัดส่วนอาคารเพื่อให้เกิดการใช้ไม้อย่างคุ้มค่าที่สุดคือระยะ 2 เมตรตามแต่บริเวณ

รูปแบบอาคารบริเวณถนนเจริญเมือง มีการควบคุมลักษณะอาคารที่ถอดสัดส่วนจากอาคารบริเวณรอบโดยคุมเส้นและระยะอาคารในระยะ 2 เมตรเพื่อให้เกิดการใช้ไม้อย่างคุ้มค่า นอกจากนี้ยังสร้างการเชื่อมต่อในการเดินเท้าและสร้างร่มเงาโดยสร้างความต่อเนื่องทางชายคาควบคู่กับการควบคุมสีและวัสดุอของอาคารสร้างอัตลักษณ์ให้กับพื้นที่เจริญเมือง

 

นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยวในการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสระบบอุตสาหกรรมป่าไม้ตั้งแต่ต้นน้ำในบริเวณพื้นที่สวนป่า และพื้นที่กลางน้ำอย่างพื้นที่การผลิตคิดค้นรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่กระจายตัวอยู่ตามวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่เมืองจนถึงพื้นที่ปลายน้ำในการชอปปิ้งซื้อสินค้าต่าง ๆ หรือจะร่วมลงมือทำเพื่อเป็นของที่ระลึกก็สามารถทำได้ โดยสร้างรูปแบบการท่องเที่ยว 2 แบบในรูปแบบ 3DAYS TRIP ที่จะเป็นการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์สัมผัสตั้งแต่วันแรกในการไปพักผ่อนพื้นที่ต้นน้ำค้างคืนในพื้นที่สวนป่าที่เต็มไปด้วยพื้นที่สีเขียว ในวันที่สองเข้าสู่พื้นที่เมืองไปยังพื้นที่แปรรูปผลิตภัณฑ์ชมกระบวนการผลิตและทดลองทำ และวันสุดท้ายในพื้นที่เมืองเก่าแพร่ที่อุดมไปด้วยพื้นที่ทางประวัติศาสตร์การทำไม้ในแต่ละยุครวมถึงการพัฒนาย่านเศรษฐกิจไม้รูปแบบใหม่เพื่อให้สามารถจับจ่ายใช้สอยซื้อเป็นของฝากได้ และรูปแบบ 1DAY TRIP ที่จะเป็นการเยี่ยมชมพื้นที่เมืองเก่าแพร่ให้เห็นกระบวนการผลิต ศึกษา แปรรูปและขายที่แทรกตัวอยู่ในพื้นที่เมืองเก่าในระยะเวลาสั้น ๆ