หากพูดถึงม้าหลายคนคงคิดถึงม้าสูงใหญ่ อย่างม้าแข่งซึ่งเป้นม้าสายพันธุ์ที่ถูกผสมและดัดแปลงมาแต่ในประเทศไทย ยังมีม้าอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่ถูกเรียกว่า ม้าไทยเป็นม้าสายพันธืแท้ที่อาจจะเป็นม้าสายพันธุ์ธรรมชาติฝูงสุดท้าย ถึงแม้จะมีขนาดตัวเล็กแต่ทนทานต่อสภาพอากาศร้อน ซึ่งมีการสันนิษฐานจากนักวิจัยชาวอเมริกาว่ามีการสืบทอดมาจากม้ามองโกเลียและเมื่อมาอยู่ที่ประเทศไทยนานจึงเกิดการปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศของไทย
นอกจากนี้ ม้าไทยยังมีคุณค่า ทั้ง 4 ด้าน ทั้งในด้านประวัติศาตร์ ด้านวิถีชีวิต ด้านนิเวศวิทยา และด้านการแพทย์ ซึ่งปัจจุบันม้าไทยยังถูกลดความสำคัญลง กลายเป็นเพียงสัตว์เลี้ยงอีกทั้งมีการดูแลผิดวิธี ขาดความรู้ มีการผสมพันม้าไทย จนทำให้ลักษณะเด่นของม้าไทยแย่ลง ซึ่งในประเทศไทยมีเพียงชมรมและมูลนิธิที่ดูแลเท่านั้น ซึ่งหนึ่งในนั้นคือชมรมอนุรักษ์ม้าพื้นเมืองสิรินธร
แนวความคิดในการวางผังบริเวณของโครงการ มีดังนี้
1) พื้นที่วิถีชีวิตของม้าไทย (Recare to conserve)
บริเวณนี้จะเป็นส่วนที่สนับสนุนและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของม้าไทยตามวิถีชีวิตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2) พื้นที่ฟื้นฟูธรรมชาติ(Restore to conserve)
เป็นบริเวณที่ฟื้นฟูและดูแลรักษาสภาพแวดล้อมและทรัพยากรภายในโครงการอย่าง
ลำห้วยและพื้นที่ป่าเพื่อให้คงอยู่ ให้ม้าได้อยู่อาศัยในพื้นที่ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
3) พื้นที่เรียนรู้เชิงอนุรักษ์(Remind to conserve)
บริเวณนี้จะเป็นส่วนที่รองรับการท่องเที่ยวและทัศนศึกษาเป็นหลัก เพื่อเผยแพร่ความสำคัญของม้าไทย เห็นคุณค่าโดยการเข้ามาสัมผัสและเข้าใจวิถีชีวิตของม้าไทยและคนเลี้ยงม้าไทยผ่านธรรมชาติและวัฒนณธรรมของพื้นที่โครงการและภาคอีสาน
พื้นที่การออกแบบรายละเอียดมีทั้งหมด 3 พื้นที่
อาชาแรกพบ แนวความคิดการออกแบบในบริเวณพื้นที่อาชาแรกพบ จะเน้นบรรยากาศที่โล่งโปร่งแบบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อส่งเสริมอาคารให้มีความโดดเด่น ส่วนบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำจะคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เดิมของพื้นที่ และปลูกพืชริมน้ำเพื่อกักเก็บความชุ่มชื้นเอาไว้
ซึ่งภายในพื้นที่มี 2 อาคารหลักได้แก่ อาคารต้อนรับ และอาคารอนุรักษ์ม้าไทย โดยอาคารต้อนรับประกอบด้วย ส่วนที่ทำงานพนักงาน ส่วนต้อนรับ จุดบริการรถกอล์ฟ คอยรับส่งภายในโครงการและพื้นที่โล่งสำหรับทำกิจกรรม ที่มีการเปิดมุมมองไปยังลำห้วยและอาคารอนุรักษ์ม้าไทย
ภายในอาคารอนุรักษ์ม้ามีการออกแบบ บ่อน้ำที่กลมกลืนไปกับตัวอาคาร เพื่อดึงดูดม้าไทย
ให้เดินมากินน้ำบริเวณนี้ ทำให้ผู้เยี่ยมชมเห็นม้าไทยจากที่ไกลๆ เริ่มทำความคุ้นเคย ให้อาหารก่อน
จะเข้าไปทำกิจกรรมอื่นๆภายในโครงการ
อาชาบำบัด พื้นที่สำหรับกิจกรรมอาชาบำบัด เป็นการบำบัดผู้ที่มีอาการผิดปกติทางสมองและการทรงตัวโดยใช้ม้าไทย ภายในพื้นที่อาชาบำบัดจะเน้นการทำกิจกรรมแบบเป็นขั้นตอนมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ เนื่องจากต้องระมัดระวังความปลอดภัยของผู้ที่มาบำบัดเป็นสิ่งสำคัญ โดยจะเรียงตามขั้นตอนในการรักษาโดยกระบวนการอาชาบำบัด
อาชาสำราญ บริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัยของม้าไทย ที่เน้นการเลี้ยงและดูแลอย่างเป็นมิตรกับม้าไทยมากที่สุด และจุดที่ให้ผู้คนเข้ามาปฏิสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับม้าไทยได้มากที่สุด ทั้งม้าไทยของโครงการและม้าฝากจากผู้ขี่ม้าที่ต้องการนำม้าไทยของตนเองม้าฝึกหรือฝากดูแล เป็นต้น
ระบบการสัญจร แบ่งเป็นทางรถยนต์ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้แค่ส่วนของม้าฝาก เนื่องจากต้องมีการขนย้ายม้าไทยเข้ามา เส้นสีชมพูเป็นเส้นทางสำหรับรถกอล์ฟ ที่สัญจรมาจากอาคารอนุรักษ์ม้าไทยเพื่อเข้าสู่ส่วนขี่ม้าและที่อยู่อาศัยของม้าไทยภายในโครงการ โดยการใช้รถกอล์ฟ มายังพื้นที่นี้มีความสะดวกสบายที่สุด เพื่อจ ากัดผู้ที่เข้ามาดูม้าเด็กและม้าชรา ไม่ให้รบกวนม้าไทยจนเกินไป
ทัศนียภาพบริเวณม้าเด็ก
ในบริเวณที่อยู่อาศัยของม้าเด็ก ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ยังจำเป็นต้องอาศัยอยู่กับแม่ม้าเพื่อดื่มนมอีกทั้งม้าเด็กยังมีความอ่อนไหวมาก ท าให้การออกแบบการเข้าถึงมีหลายรูปแบบเพื่อให้สามารถเลือกได้ว่าจะให้ผู้คนเห็นหรือไม่บริเวณที่ลูกม้าและแม่ม้าออกมาออกก าลังกาย วิ่งเล่น กลิ่งบนทรายและเล่นของเล่น มีราว
กันตกที่ไม่ปิดทึบและในบริเวณคอกม้ามีราวกันตกที่ปิดทึบ ลักษณะเป็นกำแพงอิฐ โดยผลิตมาจากมูลม้าและมีการเจาะช่องหลายระดับความสูงเพื่อที่เด็กและผู้ใหญ่สามารถแอบดูได้
ทัศนียภาพบริเวณม้าชรา
นอกจากนี้มีการออกแบบลู่เดินและเนินหญ้าเพื่อออกก าลังกาย ให้ม้าไทยวัยชราได้ออกแรงแต่ยังมีความนุ่มนวลเป็นมิตรกับเกือกม้า เนื่องจากม้าวัยนี้จะเริ่มอ่อนแอและไม่อยากขยับตัว ม้าชราจะมีประสาทสัมผัสที่เสื่อมลง จึงออกแบบให้เป็นราวกันตกแบบเปิดที่ให้ผู้เยี่ยมชมอย่างเต็มที่ มีการยกระดับซึ่งพ้นศรีษะและองศาการเงยของม้าไทยพอดีเพื่อม้าไทยจะไม่สามารถเห็นคนและไม่รบกวนม้าไทย