ผังแม่บทโครงการ

การออกแบบปรับปรุงผังเชิงการใช้งานนั้นจะแบ่งพื้นที่โครงการออกเป็น 5 ส่วน คือส่วนสาธารณะ ส่วนกึ่งสาธารณะ ส่วนงานบริการ ส่วนพื้นที่พักอาศัยสำหรับบุคลากร และส่วนพื้นที่หอพักผู้ป่วย โดยจากการวิเคราะห์ปัญหาการใช้งานในแง่ของการรบกวนผู้ป่วย ทั้งเรื่องของกลิ่นและเสียง จึงมีการย้ายส่วนงานบริการ ออกไปไว้ยังบริเวณเส้นทางสัญจรหลักรอบนอกใกล้ประตูทางเข้าออกรองเพื่อลดปัญหาการรบกวนส่วนที่พักผู้ป่วยและเพิ่มความเป็นสัดส่วนมากขึ้น นอกจากนี้จากปัญหาการสัญจรตัดผ่านพื้นที่หอพักผู้ป่วยของกลุ่มผู้ใช้งานอื่นจึงมีการย้ายส่วนห้องแถวที่พักอาศัยสำหรับพยาบาลที่ทรุดโทรมและกระจัดกระจายอยู่โดยรอบเข้ามารวมไว้ที่เดียวกันทำให้ง่ายต่อการจัดการเตรียมพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อนของบุคลากร

ในการปรับปรุงเส้นทางสัญจรใหม่นั้นได้มีการแบ่งเส้นทางสัญจรภายในโรงพยาบาลออกเป็น 3 ประเภทประกอบด้วย

1. เส้นทางสัญจรหลัก ซึ่งเป็นเส้นทางที่ต่อเติมเพิ่มจากของเดิมจนมีลักษณะวนรอบโครงการล้อมรอบกลุ่มหอพักผู้ป่วยชายและหญิงด้านในเอาไว้

2. เส้นทางสัญจรรอง ซึ่งเป็นเส้นทางที่จะมีการปรับลดบางเส้นที่ไม่จำเป็นลงเหลือบริเวณส่วนของหอพักผู้ป่วยทั้ง 3 หอเท่านั้นเพื่อลดการรบกวนส่วนหอพัก

3. เส้นทางคนเดิน ซึ่งจะเป็นเส้นทางที่เพิ่มขึ้นมาเชื่อมต่อจากหอพักไปยังส่วนใช้งานของผู้ป่วยเป็นโครงข่ายเพื่อช่วยสนับสนุนให้ผู้ป่วยสามารถเดินออกไปใช้งานพื้นที่บำบัดต่าง ๆ มีระยะไม่เกิน 200-400 เมตร

แนวความคิดการออกแบบคือการ UNLOCK จะเป็นการเริ่มให้ผู้ป่วยสามารถออกมาใช้พื้นที่ภายนอกได้ตามลำดับการควบคุมปิดล้อมและลำดับอาการ ซึ่งจะสัมพันธ์กับกิจกรรมการบำบัด โดยแบ่งพื้นที่โซนต่าง ๆ ดังนี้

1.Relative

2.Physical

3.Psycho

4.Social & Public

 

รูปตัดภาพรวมของโครงการบริเวณส่วนบำบัด ซึ่งจะเน้นให้ผู้ป่วยได้อยู่ท่ามกลางพื้นที่ธรรมชาติ

รูปตัดภาพรวมของโครงการบริเวณส่วนสังคมบำบัดและสวนสาธารณะหน้าโรงพยาบาล

ภาพรวมรายละเอียดตำแหน่งที่ตั้งของโซนการบำบัดต่าง ๆ

1.Relative : ส่วนเยี่ยมญาติ

ผู้ป่วยในจากหอพักต่างๆที่จะมาพบกันบริเวณนี้เพื่อไม่ให้รบกวนและปะปนกับผู้ป่วยท่านอื่นที่ไม่มีญาติมาในวันนั้น ๆ การออกแบบพื้นที่รองรับประกอบด้วย ที่นั่งสำหรับกลุ่มอยู่ติดกับอาคารหอชายมีกระบะปลูกช่วยกั้นพื้นที่ให้เกิดเป็นความส่วนตัว ที่นั่งย่อยเป็นคู่ที่อยู่ใต้ร่มไม้และสนามโดยพื้นที่นั่งคู่จะมีการใช้เนินเตี้ย ๆ และไม้พุ่มเพื่อกั้นให้เกิดความเป็นส่วนตัวแต่เจ้าหน้าที่ยังสามารถมองเห็นผู้ป่วยกับญาติได้

บรรยากาศบริเวณโซนเยี่ยมญาติ มีพื้นที่สนามสำหรับให้พาผู้ป่วยเดินเล่นในระยะสั้นๆได้ภายในบริเวณคอร์ทที่กำหนด

2.Physical : ส่วนกายบำบัด

ในส่วนกายบำบัดจะจะตั้งอยู่บริเวณหน้าหอพักทั้งหอชาย หอหญิง และหอจิตเวชสารเสพติด การออกแบบเพื่อรองรับกิจกรรมกายบำบัดจะเป็นลักษณะเป็นฐานที่สลับหมุนเวียนเปลี่ยนกันใช้ได้ตลอดช่วงเวลาทำกิจกรรมซึ่งประกอบด้วย สนามหญ้าอเนกประสงค์ เส้นทางเดินทรงตัวที่แบ่งย่อยเป็นพื้นต่างระดับที่แตกต่างกันทั้งหมด 3 ฐาน สนามกีฬา สำหรับกิจกรรมกีฬาเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างวอร์ด และพื้นดาดแข็งสำหรับนั่งพัก เดิน ทำกิจกรรมกลุ่มเช่นแจกขนมหรือพักผ่อนตามอัธยาศัย

บรรยากาศบริเวณ walking balance track สำหรับฝึกการทรงตัวและเดินออกกำลังกายหมุนเวียนสลับกันไปตามฐาน 3 จุด

บรรยากาศบริเวณที่นั่งหน้าอาคารในโซนกาย สำหรับออกกำลังกาย แอโรบิค นั่งพัก ทำกิจกรรมอื่นๆเช่น ทานขนมในช่วงเวลานอกเหนือตารางกิจกรรมบำบัดจะมีการใช้ไม้พุ่มที่เป็นผักสวนครัวที่พบในอาหารภาคใต้เผื่อให้ผู้ป่วยสามารถเก้บไปให้พยาบาลนำไปประกอบอาหารในแต่ละวันได้ เป็นการสร้างกิจกรรมและสร้างความผ่อนคลายให้กับผู้ป่วย

บรรยากาศบริเวณสนามกีฬารวม สำหรับจัดการแข่งขันเล็กๆ ง่ายๆ ระหว่างวอร์ดผู้ป่วยเพื่อกระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในกลุ่มผู้ป่วยด้วยกัน

3.Psycho : ส่วนจิตบำบัดสมาธิ

การออกแบบเพื่อรองรับกิจกรรมจะประกอบด้วยตัวอาคารห้องสมุดที่ปรับปรุงมาจากอาคารส่วนบริการเดิม ผู้ป่วยสามารถยืมหนังสือจากจุดนี้ไปนั่งอ่านยังบริเวณอื่น ๆ ภายในได้ จุดสำหรับเดินจงกลม ซึ่งมีให้เลือกสองแบบคือแบบเป็นเส้นทางวนกลับและแบบเดินไปกลับ และศาลาโยคะกับลานทรายนั่งสมาธิซึ่งจะตั้งอยู่ที่ปลายสุดซึ่งเป็นจุดสูงสุดของเนินและมีความสงบมากที่สุด  ในส่วนจิตบำบัดสมาธินั้นจะมีศาลาธรรมบำบัดซึ่งเป็นศาลาอเนกประสงค์เป็นจุดรวมพลสำหรับกิจกรรมกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น งานบุญเลี้ยงพระ หรืองานเทศน์ โดยมีลานและสนามหญ้าสำหรับรองรับกิจกรรม

บรรยากาศบริเวณลานสมาธิ ในโซนจิตบำบัดสมาธิ สำหรับฟังเทศน์เป็นกลุ่มเล็กหรือนำหนังสือจากห้องสมุดมาอ่าน

3.Psycho : ส่วนจิตบำบัดกระตุ้นประสาท

ประกอบไปด้วยฐานที่ช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้าของผู้ป่วย คือ ลิ้มรส การมอง การได้ยิน ผิวสัมผัสและดมกลิ่น การออกแบบเพื่อรองรับกิจกรรมจะประกอบด้วยตัวอาคารห้องสมุดที่ปรับปรุงมาจากอาคารส่วนบริการเดิม ผู้ป่วยสามารถยืมหนังสือจากจุดนี้ไปนั่งอ่านยังบริเวณอื่น ๆ ภายในได้ จุดสำหรับเดินจงกลม ซึ่งมีให้เลือกสองแบบคือแบบเป็นเส้นทางวนกลับและแบบเดินไปกลับ และศาลาโยคะกับลานทรายนั่งสมาธิซึ่งจะตั้งอยู่ที่ปลายสุดซึ่งเป็นจุดสูงสุดของเนินและมีความสงบมากที่สุด  ในส่วนจิตบำบัดสมาธินั้นจะมีศาลาธรรมบำบัดซึ่งเป็นศาลาอเนกประสงค์เป็นจุดรวมพลสำหรับกิจกรรมกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น งานบุญเลี้ยงพระ หรืองานเทศน์ โดยมีลานและสนามหญ้าสำหรับรองรับกิจกรรม

บรรยากาศบริเวณทางเดินผิวสัมผัส ในโซนจิตบำบัดกระตุ้นประสาท ให้ผู้ป่วยได้เดินผ่อนคลายบนพื้นผิวธรรมชาติที่มีขนาดแตกต่างกัน

บรรยากาศบริเวณ ส่วนกระตุ้นประสาทสัมผัสทางตาและการดมกลิ่น ในโซนจิตบำบัดกระตุ้นประสาท โดยอาศัยพืชพรรณที่มีสีสันและต้นไม้ที่มีกลิ่นรายล้อมศาลารวมพลที่ใช้ทำกิจกรรม

3.Psycho : ส่วนจิตบำบัดการแสดงออกและกระตุ้นจินตนาการ

การออกแบบเพื่อรองรับกิจกรรมจะประกอบด้วย เวทีทำการแสดงบำบัดสำหรับให้ผู้ป่วยได้แสดงบทบาทสมมุติหรือจับกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ต่อหน้าผู้อื่นเพื่อฝึกทักษะการแสดงออก และลานศิลปะบำบัดกับสนามสำหรับกิจกรรมศิลปะบำบัดที่ผู้ป่วยนำวัสดุจากธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นงานศิลปะง่าย ๆ ได้ หรือใช้สำหรับกิจกรรมเล่นดนตรีบำบัดก็ได้เช่นกัน การเลือกพืชพรรณจะเลือกใช้ต้นไม้ที่มีรูปทรงหลากหลายเพื่อสร้างความแตกต่าง แปลกใหม่ จะได้ช่วยกระตุ้นจินตนาการและการสังเกตของของผู้ป่วย

บรรยากาศบริเวณเวทีการแสดงบำบัด ให้ผู้ป่วยได้ลองแสดงบทบาทสมมุติต่อหน้าผู้ชม ส่งเสริมการแสดงออก และเป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรม โดยรอบจะมีการใช้แนวเนินและไม้พุ่มเพื่อป้องกันผู้ป่วยหลบหนี

4.Social & Public : ส่วนสังคมบำบัดและส่วนสาธารณะ

ในส่วนสังคมบำบัดและสาธารณะ ผู้ใช้งานจะเป็นผู้ป่วยในที่อยู่ในระยะฟื้นฟูที่ใกล้หายดีแล้ว โดยจะมีการใช้งานร่วมกันกับผู้ใช้งานอีก 3 กลุ่มคือบุคลากรทั่วไปของโรงพยาบาล ญาติและผู้ป่วยนอกที่เดินมาจากอาคารหลักที่เข้ามาใช้งานร้านค้า ร้านกาแฟ และคนจากในชุมชนที่เข้ามาใช้พื้นที่สาธารณะของโรงพยาบาลที่อยู่ติดกัน ที่ตั้งของส่วนสังคมบำบัดและสาธารณะจะอยู่ติดเส้นทางสัญจรหลักรอบนอกเพื่อให้ผู้ใช้งาน 3 กลุ่มที่กล่าวมาข้างต้นสามารถเข้ามาใช้งานร่วมหรือมองเห็นกิจกรรมการทำงานผู้ป่วยได้ กิจกรรมที่เกิดขึ้นในส่วนนี้จะเป็นการบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยเห็นคุณค่าในตัวเองผ่านการฝึกอาชีพและทำงาน ซึ่งจะส่งเสริมทักษะทางสังคมให้ผู้ป่วย ทั้งในแง่ของความรับผิดชอบ ความมั่นใจ การร่วมมือ การออกแบบที่รองรับจะประกอบด้วย ศูนย์ฝึกอาชีพ โรงเพาะชำ โดยจะมีลานด้านหน้าสำหรับกิจกรรมอบรม รวมพล หรือสั่งงานก่อนจะปล่อยผู้ป่วยลงปฏิบัติงานจริงในแปลงสมุนไพรฝึกอาชีพ ที่อยู่ข้างกันหรือสวนยางที่อยู่ตรงข้ามและจะมีการนำผลผลิตที่ได้มาวางขายยังร้านค้าที่อยู่ด้านข้างอาคารบำเพ็ญประโยชน์ โดยอาคารบำเพ็ญประโยชน์จะเป็นศูนย์อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับงานจิตเวชแก่สาธารณะสุขและคนทั่วไป ผู้ที่มาอบรมจะได้สัมผัสชีวิตและการทำงานของผู้ป่วยทั้งที่อยู่ในร้านค้าหรือแปลงสมุนไพรเป็นการช่วยปรับทัศนคติว่าผู้ป่วยที่หายแล้วก็สามารถใช้ชีวิตและทำงานได้ปกติไม่ต่างจากคนธรรมดา

บรรยากาศบริเวณแปลงปลูกสมุนไพรผู้ป่วยในโซนสังคม ช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีกิจกรรมทำ เป็นการฝึกอาชีพและนำผลผลิตที่ได้ไปขายยังร้านค้าที่อยู่ติดกัน  ทำให้ผู้ป่วยเห็นคุณค่าในตัวเอง

Diagram สรุปภาพรวมโครงข่ายและผลลัพท์ภายหลังการปรับปรุงผัง