จากแนวคิดการนำเทศกาลภาพยนตร์เป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะโดยใช้แนวคิดการฝังเข็มเมือง (Urban Acupuncture) เพื่อฟื้นฟูองค์ประกอบของพื้นที่เมือง สร้างความเชื่อมต่อภายในย่านให้เกิดขึ้น นำมาสู่การออกแบบแผนผังแนวคิดช่วงเทศกาล และหลังจากเทศกาล แผนผังโครงการโครงการ รายละเอียดต่าง ๆ ในพื้นที่

 conceptual plan ช่วงจัดเทศกาล

 conceptual plan ช่วงหลังเทศกาล

จากการวิเคราะห์พื้นที่ ความต้องการเชิงพื้นที่ ร่วมกับโปรแกรมและเกณฑ์ของเทศกาลภาพยนตร์ มาสู่การออกแบบผังแม่บทโครงการโดยการวางผังโครงการเป็นการใช้แนวทางการพัฒนารูปแบบใหม่ ในลักษณะผสมผสาน ในขณะเดียวกันก็ยังคงอนุรักษ์พื้นที่ชุมชนเดิมและอาคารเดิมอันเป็นเอกลัษณ์ของย่าน โดยมุ่งเน้นให้เกิดการฟื้นฟูย่านเพื่อรองรับเทศกาขนาดใหญ่ได้และเกิดการใช้งานในพื้นที่สาธารณะ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงหลังจากเทศกาลด้วย โดยแต่ละจุดจะมีการพัฒนาอาคารเดิม หรือการ infill อาคารหรือที่ว่าง ที่รองรับกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป

แผนผังการออกแบบโครงการ

 บริเวณสวนสาธารณะชุมชนป้อมมหากาฬ 

พื้นที่สาธารณะสำคัญอีกหนึ่งแห่งในเกาะรัตนโกสินทร์ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งเคยเป็นชุมชนอยู่อาศัย เป็นพื้นที่ทำกินของชาวชุมชนป้อมมหากาฬเดิม ที่มีการอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น โดยการประกอบอาชีพเลี้ยงนก เลี้ยงไก่เป็นหลัก อาศัยอยู่ในบ้านไม้ที่มีรูปแบบบ้านล้อมพื้นที่คอร์ทตรงกลาง เป็นลานทำกิจกรรมระดับชุมชนในอดีต ซึ่งในอนาคตจากการเข้ามาของสถานีรถไฟฟ้าสะพานผ่านฟ้าลีลาศ และการเชื่อมต่อจากเรือโดยสารสาธารณะ ทำให้พื้นที่สาธารณะชุมชนป้อมมหากาฬนี้สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกมากขึ้น สามารถเป็นทางเข้าหลักที่หนึ่งของงานเทศกาล 

ภาพทัศนียภาพของพื้นที่สาธารณะป้อมมหากาฬในช่วงเทศกาลภาพยนตร์ เสาชิงช้า Film Festival

ภาพทัศนียภาพของพื้นที่สาธารณะป้อมมหากาฬในช่วงเทศกาลภาพยนตร์ เสาชิงช้า Film Festival

บริเวณริมคลองหลอดราชนัดดา – ตรอกศิลป์ตึกดิน – ถนนตะนาว streetfood

พื้นที่ชุมชนริมคลองหลอดที่เป็นพื้นที่อยู่อาศัยเดิมของคนในชุมชนตลอดแนวยาวของคลอง สู่พื้นที่พานิชยกรรมริมคลองที่สามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยว ย่านกินดื่มได้ตลอดทั้งปี

โดยแนวทางการออกแบบจากการเปิดเส้นทางริมคลองให้เดินเชื่อมต่อไปสู่ถนนตะนาวโดยไม่ต้องเดินอ้อมบล็อกขนาดหญ่ เชื่อมโยงเข้าสู่วัดมหรรณพาราม โดยบริเวณริมคลองของชุมชนตรอกศิลป์ตึกดิน ที่อาศัยอยู่ริมคลองเดิม มีการส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนพื้นที่ชั้นล่างและชั้นสอง ให้เปิดเข้าสู่ริมคลองและทางเดิน เป็นพานิชยกรรม ร้านค้า ร้านอาหาร บริเวณชั้นสามและชั้นบน ปรับเปลี่ยนเป็นที่พักอาศัย ให้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ  

แสดงทัศนียภาพของพื้นที่ คลองหลอดตรอกศิลป์ ตึกดิน  streetfood

แสดงทัศนียภาพของพื้นที่ คลองหลอดตรอกศิลป์ ตึกดิน  streetfood

บริเวณสามแพร่ง Entertainment District

จากการสำรวจกิจกรรมและพื้นที่สาธารณะชุมชนที่มีการใช้งานอย่างไม่เต็มศักยภาพ โดยมี node ของการทำกิจกรรมชุมชนอยู่ในบริเวณ ซุ้มประตูแพร่งสรรพศาสตร์ หน้าบริเวณโรงละครปรีดาลัย และสวนสาธารณะชุมชนแพร่งภูธร โดยตึก
พานิชยกรรมบริเวณโดยรอบ มีการใช้งานเต็มทุกชั้น มีห้องปิดทิ้งร้าง จะถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานเพื่อรองรับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในช่วงเทศกาล

โดยพื้นที่ออกแบบอยู่บริเวณของโรงละครปรีดาลัย Live Performance โดยปรับพื้นที่อาคารเก่าให้สามารถทะลุลานวัฒนธรรมชุมชนที่เป็นพื้นที่กิจกรรม การแสดงออกทางศิลปะ ฉายหนังกลางแปลง เพื่อเป็น amphitheater เชื่อมต่อระดับสู่ตึกแถวบริเวณโดยรอบ ซึ่งจะเป็นพื้นที่สาธารณะใหม่ของชุมชน ให้สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ หลังจากเทศกาลได้อย่างอเนกประโยชน์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่คนภายนอกสามารถเข้าร่วม workshop เข้าชม เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมระหว่างคนในกับคนนอกพื้นที่ 

ทัศนียภาพส่วนที่ออกแบบสามแพร่ง Entertainment บริเวณชุมชนติดกับโรงละครปรีดาลัย live performanceช่วงเทศกาล

 

ทัศนียภาพส่วนที่ออกแบบสามแพร่ง Entertainment บริเวณชุมชนติดกับโรงละครปรีดาลัย live performanceช่วงหลังเทศกาล

บริเวณ cultural art center
บริเวณลานคนเมืองและศาลาว่าการกทม.เดิม ถูกปรับเปลี่ยนเป็นบริเวณของ cultural & art centre ซึ่งเป็น main event ของงานเทศกาลหนังกรุงเทพฯ “เสาชิงช้า ฟิล์ม เฟสติวัล” โดยจะมีกิจกรรมประกาศรางวัลอันทรงเกียรติ พิธีเดินพรมแดงบริเวณลาน Civic Star Plaza หน้าเสาชิงช้า โดยการออกแบบเป็นการปรับเปลี่ยนพื้นที่บริเวณศาลาว่าการกทม. ที่มีการย้ายการทำการของเจ้าหน้าที่ภายในให้เป็น cultural & art centre เพื่อเป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม ซึ่งจะใช้พื้นที่ได้เต็มศักยภาพในช่วงเทศกาลภาพยนตร์ และหลังจากเทศกาลจะกลายเป็นแลนด์มาร์คใหม่ของย่านเสาชิงช้า
ในช่วงเทศกาล พื้นที่บริเวณหน้าเสาชิงช้า ลานคนเมือง ศาลาว่าการกทม. และบริเวณชุมชนราชนัดดาด้านหลัง จะถูกปรับเปลี่ยนให้เกิดกิจกรรมที่มีความต่อเนื่องกันตามที่แสดงในรูปตัด โดยเปิดแกนจากวัดสุทัศน์ที่อยู่ทางด้านซ้าย จากทางด้านหน้าจะแสดงให้เห็นถึงลำดับการเข้าถึงพื้นที่ของแขกวีวีไอพี จากจุดจอดรถลีมูซีนบริเวณหน้าเสาชิงช้า โดยแขกวีวีไอพี จะเดินจากทางเสาชิงช้าเข้ามาสู่ตัวอาคารด้วย Slope ที่ถูกออกแบบแยกชั้นโดยบรรดาแฟนคลับและผู้เข้าชมจะแยกอยู่บริเวณชั้นบนของ2ฝั่งเพื่อให้เห็นและสร้างความปลอดภัยให้กับศิลปิน โดยรอบข้างจะเป็นช่างภาพกิตติมศักดิ์ที่มาเก็บภาพที่จะถูกจดจำและเผยแพร่ไปทั่วโลก ในบรรยากาศของกรุงเทพที่มีเสาชิงช้าเป็นแลนมาร์คที่แสดงในทัศนียโดยมีวัดสุทัศน์ โบสถ์พราหมณ์เป็นพื้นหลัง สื่อถึงความเป็นเมืองที่มีมรดกทางวัฒนธรรมไทย

รูปตัดแนวยาวและกิจกรรมจากวัดสุทัศน์ไปจนถึงชุมชนวัดราชนัดดา

ทัศนียภาพเดินพรมแดงบริเวณด้านหน้า cultural art centre

 

เมื่อศิลปินเข้ามาสู่โถงภายใน จะพบกับพิธีประกาศรางวัลและฉายหนังปฐมทัศน์โดยที่นั่งเหล่านี้ จะซ่อนระบบด้านล่าง เพื่อพับเก็บได้อย่างอเนกประสงค์ ส่วนด้านบนของอาคารถูกปรับเป็นพิพิธภัณฑ์แกลอรี่เวียนหมุน ปรับเปลี่ยนได้ ในช่วงอีเว้นท์จะเป็นแกลอรี่ ที่เกี่ยวข้องด้านภาพยนต์ ให้เหล่าคนทำหนังมาจัดแสดงผลงานได้ จะแสดงให้เห็นว่าจากลานด้านหน้า เราสามารถเข้าสู่ตัวอาคารมายัง Lobby ที่จะนำไปสู่โถงด้านใน โดยในการฟื้นฟูอาคารยังคงเก็บส่วนโครงสร้างของอาคารเดิม และในส่วนของพื้นที่ออฟฟิศที่ไม่ถูกใช้งาน ถูกปรับเปลี่ยนเป็นโถงขนาดใหญ่ พิพิธภัณฑ์และแกลอรี่หมุนเวียน โดยเปิด Facade เพื่อให้มองเห็นจากด้านนอกได้ด้วย

ส่วนหนึ่งของภาพตัดตามยาวโถงภายใน cultural art centre

ภาพตัดตามกว้างโถงภายใน cultural art centre

จากแผนการย้ายที่ทำการของศาลาว่าการ เป็นโอกาสที่สำคัญในการสร้างพื้นที่การเชื่อมต่อระหว่างชุมชนในพื้นที่โดยมีข้อเสนอให้เป็น Public space ทางศิลปวัฒนธรรม ที่มีการใช้คอร์ทตรงกลางอาคารอย่างอเนกประโยชน์ เช่น การจัดแสดงนิทรรศการศิลปะที่หมุนเวียนได้ ซึ่งเชื่อมต่อกับลานคนเมืองเดิม ที่จะปรับปรุงเป็น Star civic plaza จากชั้นล่างที่เป็นลานจอดรถ จะถูกปรับบางส่วนเป็น Sunken ลงไป เพื่อให้สองข้างได้เป็นพื้นที่ใช้งานได้ตลอดวันโดยไม่ร้อน ซึ่งบริเวณลานด้านหน้าจะเป็น Space ที่ลดระดับลงไปเข้าสู่อาคาร และเปิดแกนเข้าสู่วัดสุทัศน์ ทางทิศตะวันออกโดยไม่ร้อน และจะเชื่อมตรงไปยังโบสถ์พราหมณ์ และทางทิศตะวันตกจะนำเชื่อมโยงสู่วัดเทพธิดาราม

รายละอียดโปรแกรมการออกแบบสามมิติ

รายละอียดโปรแกรมการออกแบบสามมิติ

บรรยากาศหลังช่วงเทศกาล ทุกคนในย่านและคนในเมืองสามารถเข้ามาใช้งานได้เต็มที่ สามารถเดินทะลุตามแนวแกนนี้ได้เกิดการเชื่อมต่อ ไปสู่สถานที่สำคัญได้ และพื้นที่ใต้ sunken ยังปรับเป็น commercial ได้อีกด้วย โดยออกแนวทางการออกแบบมาจากอาคารด้านบนถนนดินสอ เพื่อให้มีความรู้สึกเชื่อมกับ Space ด้านบนอย่างลื่นไหล ตัวอาคารด้านในที่เป็นโถงขนาดใหญ่สามารถพับเก็บในการทำกิจกรรมได้หลากหลาย และในช่วง Covid-19 เป็นโรงพยาบาลสนามได้อีกด้วย  มิวเซียมแกลอรี่ด้านบน ก็สามารถหมุนเวียนเป็นนิทรรศการของนักเรียน นักศึกษา มาจัด Thesis หรือกิจกรรมต่าง ๆให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างคนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ได้

ทัศนียภาพบริเวณลาน Civic Star Plaza หลังเทศกาล

ทัศนียภาพบริเวณลาน Civic Star Plaza หลังเทศกาล

ทัศนียภาพด้านในโถง Bamgkok Cultural Art Centre หลังเทศกาล

เทพธิดาราม Fairy District
บริเวณย่านชุมชุนวัดเทพธิดารามซึ่งในปัจจุบัน จากวังกรมพระสมมตอมรพันธ์ ที่ถูกปิดทิ้งไว้เป็นเวลานานและเสื่อมโทรม ถูกปรับสู่พิพิธภัณฑ์ชุมชนที่เปิดให้คนนอกได้เข้าชม ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง node ที่จะเชื่อมไปสู่วัดเทพธิดาราม และพื้นที่สาธารณะในชุมชน โดยบริเวณนี้ได้มีการออกแบบจากเดิมที่วังเก่า และอาคารขาดการอนุรักษ์ จึงสร้างการเชื่อมต่อให้กับพื้นที่ ภาพตัด 6.21 แสดงให้เห็นความต่อเนื่องในพื้นที่จากลานหน้าอาคาร Cultural centre เข้ามาสู่ชุมชนเพื่อชมสถาปัตยกรรมภายในได้ ส่วนบรรยากาศหลัง Event จะเปิดให้สามารถเข้าชมพิพิธภัณฑ์ภายในได้ ชุมชนรอบข้างจะไม่เงียบเหงา และยังได้แหล่งเรียนรู้ใหม่อีกด้วย

ทัศนียภาพด้านในโถง Bamgkok Cultural Art Centre หลังเทศกาล

ทัศนียภาพด้านในโถง Bamgkok Cultural Art Centre หลังเทศกาล

การนำผังมาสู่การปฏิบัติ
โครงการฟื้นฟูพื้นที่สาธารณะย่านเสาชิงช้าด้วยการใช้เทศกาลภาพยนตร์เป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเมืองมีการออกแบบเชิงกายภาพของเมือง โดยมีมาตรการในการทำแนวทางการออกแบบอาคารบริเวณถนนสำคัญ โดยกำหนดโทนสี วัสดุ ความกว้างของทางเดินเท้าเพื่อให้เกิดการเดินที่ปลอดภัย สะดวกสบาย มีสายตาเฝ้าระวัง เกิดการปรับรูปบบการใช้งานอาคารใหม่อย่างเหมาะสมและเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังฟื้นฟูอาคารสำคัญของชุมชนที่ปิดตัว ทิ้งร้างให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ใหม่ในชุมชน
โดยในช่วงการจัดเทศกาล ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักคือ กรุงเทพมหหานคร ร่วมกับ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนังานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนในย่านสาชิงช้า อาทิ ชุมชนสามแพร่ง ชุมชนราชบพิธ ชุมชน วังกรมพระสมมตอมรพันธ์ ชุมชนตรอกศิลป์ตึกดิน ชุมชนหลังวัดราชนัดดาเป็นต้น
การนำข้อเสนอไปเสนอกับชุมชนต่าง ๆ นั้น เป็นการสร้างมิติทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมชุมชนให้เกิดขึ้น เพื่อให้บุคคลภายนอกได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาวิถึชีวิตความเป็นอยู่ ผลที่ได้คือเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจจากการประกอบอาชีพบริการที่รองรับของคนในชุมชน ก่อให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชน และย่านมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีพื้นที่อาคารราชการสาธารณะขนาดใหญ่เดิมที่ปรับปรุงเป็นแลนด์มาร์คในการเรียนรู้แห่งใหม่ พื้นที่ที่เปิดเป็นสาธารณะ สามารถเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับคนในชุมชนและเป็นพื้นที่พักผ่อนของทุกคนได้อีกด้วย

 

ภาพจำลองสามมิติช่วงเทศกาลภาพยนตร์ “เสาชิงช้า ฟิล์ม เฟสติวัล”

ภาพจำลองสามมิติหลังช่วงเทศกาลฯ