CO - REGENERATIVE UNIT

RE RATTANAKOSIN SCAPE
เมืองเก่า มุมมอง คนใหม่

Share
Share on facebook
Share on twitter

ปัจจุบันนี้พื้นที่เมืองเก่าย่านเกาะรัตนโกสินทร์ได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่มากขึ้น ถึงจะเป็นย่านเก่าแก่แต่ก็เต็มไปด้วยงานศิลปะแห่งความสร้างสรรค์ คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่มองเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมนี้ จึงเกิดเป็นโครงการสร้างสรรค์ย่านเกาะรัตนโกสินทร์มากมาย ไม่ว่าจะในระดับภาคสถาปัตยกรรม หรือภาคสถาปัตยกรรมผังเมือง เพื่อแสดงมุมมองการอยู่ร่วมกันระหว่างวิถีชีวิตเก่าและวิถีชีวิตใหม่ในพื้นที่เมืองเก่าได้อย่างสร้างสรรค์

แน่นอนว่าสโคปการทำงานในพื้นที่เมืองเก่าระหว่างสถาปนิกผังเมืองกับสถาปนิกผู้ออกแบบอาคารมีความแตกต่างกันมาก แต่ก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การอนุรักษ์ไม่ใช่การคงของเดิมให้อยู่ตลอดไป แต่เป็นการปรับเปลี่ยนของเก่าให้เข้ากับรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ด้วย

เรื่องการประยุกต์วิถีชีวิตใหม่ในเมืองเก่า สถาปนิกก็สามารถที่จะปรับเปลี่ยนอาคารเก่า ให้ใช้ได้ในปัจจุบันและมีชีวิตชีวาได้…”

Chaba Wangsirilert

ในการพัฒนาพื้นที่เมืองเก่า เราต้องเคารพสิ่งที่มีอยู่เดิม หรือ เอกลักษณ์ของย่าน เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานในการออกแบบและส่งต่อวัฒนธรรมเหล่านี้ไปสู่อนาคต…”

Thanapond Methasan

ซึ่งการทำงานในสโคปที่ต่างกันระหว่างภาคทำให้เรามองเห็นรายละเอียดที่ลึกลงไป และภาพรวมที่กว้างขึ้นในขณะเดียวกัน สิ่งที่ขัดแย้งกันระหว่างภาคการออกแบบก็อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่ก็เป็นสิ่งที่ดีเมื่อแต่ละภาคเปิดใจแลกเปลี่ยนประสบการณ์งานออกแบบแก่กันและกัน

ในเรื่องวิธีการศึกษาเมืองเก่า การทำงานทั้งภาคสถาปัตยกรรมและภาคผังเมืองก็ต้องมีการลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์คนในชุมชนเหมือนกัน...”

Thanapond Methasan

สถาปนิกนำผังเมืองโดยรวมจากการวางผังของนักผังเมืองมาปรับใช้โดยการเพิ่มเติมรายละเอียดของอาคาร หรือปรับเปลี่ยนอาคารเก่า ที่สร้างแล้วต้องไปกับสภาพแวดล้อมเดิมได้…

Chaba Wangsirilert

“สถาปนิกผังเมืองออกแบบเชิงโครงสร้าง solution ที่เสนอต้องครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดให้สถาปนิกผู้ออกแบบอาคารนำ solution ต่าง ๆ ไปทำงานต่อไป…”

Panyapohn Sombatnimit

ในส่วนของสเกลภาคผังเมืองเกี่ยวข้องกับกฎหมายเยอะกว่าภาคอื่น ๆ...”

Mathawee Tilokruangchai

สุดท้ายการร่วมมือกันระหว่างภาคเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ยิ่งระหว่างภาคที่มองสโคปงานกว้าง ๆ อย่างผังเมือง กับภาคที่มองเป็นส่วนย่อยอย่างภาคสถาปัตยกรรม ถ้าได้มาทำงานร่วมกัน ช่วยกันทำงานในส่วนที่ตนเองถนันก็จะทำให้การออกแบบสถาปัตยกรรมและผังเมืองในเกาะรัตนโกสินทร์มีความสมบูรณ์มากขึ้น

มีเพื่อนผังเมืองที่ทำงานในพื้นที่เดียวกัน ก็มีแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับกฎหมายควบคุมสีอาคารที่ออกใหม่ปี64 ถามเรื่องผังแม่บทกรุงรัตนโกสินทร์ แล้วก็แชร์ไฟล์ surrounding กัน…”

Chaba Wangsirilert

ถ้าในอนาคตสามารถทำธีสิสโคกับภาคอื่นได้ คงน่าจะสนุกดี…”

Chaba Wangsirilert

ภาคผังเมืองมองเห็นถึงศักยภาพของพื้นที่สาธารณะ ที่จะเชื่อมโยงสู่สถาปัตยกรรมและชุมชนโดยรอบ ให้เกิดกิจกรรมและการใช้งานมากขึ้น…"

Chiratchaya Pimpapan

ผังเมืองออกแบบ negative space ส่วนภาคสถาปัตย์ออกแบบ positive space ถ้าได้คุยกันหรือทำงานร่วมกัน เมืองก็จะถูกพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน…”

Mathawee Tilokruangchai

สถาปนิกผังเมืองอาจจะไม่ได้ต้องรู้ว่าโครงสร้างนี้แข็งแรงแค่ไหน แต่ต้องการสถาปนิกเข้ามาช่วย ต้องอาศัยความร่วมมือกัน…”

Panyapohn Sombatnimit

ทั้งนี้ผู้ออกแบบหวังว่าโครงการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (design center) เหล่านี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยผลักดันให้กลุ่มผู้ทำงานสร้างรรค์ได้มีพื้นที่ในการแสดงความสามารถของตนเองออกมามากขึ้น รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งในช่วยการพัฒนาประเทศให้สร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ออกมาสู่ระดับสากล

ดูโครงการที่เกี่ยวข้อง