Brief History of Tobacco Industry
ยาสูบเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา ใช้เป็นยาและใช้ในพิธีกรรมของชาวมายันและชาวอินเดียแดง แพร่หลายไปทั่วโลกเนื่องจากมีการทำยาสูบมาเพาะพันธุ์เพื่อการผลิตบุหหรี่เชิงอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 15 สำหรับในประเทศไทยได้เริ่มมีการวิจัยพันธุ์ยาสูบภายในประเทศไทยในปี 1952 และก่อตั้งสถานีบ่มใบยาบ้านเหล่าหลังการวิจัยสำเร็จในปี 1955
ปัจจุบันการยาสูบแห่งประเทศไทยปรับลดกำลังการผลิตและปรับลดปริมาณการรับซื้อยาสูบจากสถานีบ่มใบยาและเกษตรกร ส่งผลให้กลุ่มเกษตรกรไร่ยาสูบได้รับผลกระทบอย่างหนักและมีแนวโน้มที่จะต้องเลิกปลูกและปิดตัวโรงบ่มในอนาคต พ่อเลี้ยงและกลุ่มลูกไร่เกษตรกรสถานีบ่มใบยาบ้านเหล่าจึงมองหาแนวทางที่จะปรับเปลี่ยนกิจการใหม่บนพื้นที่สถานีบ่มใบยาซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเพื่อหาทางออกร่วมกัน โดยมีเป้าหมาย 2 ด้าน คือ ช่วยเหลือเกษตรกร และ พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
จากการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในด้านต่างๆเพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น ควบคู่กับแนวทางจาก Who fctc ซึ่งจะมีเนื้อหาสำคัญในการมองหา alternative crops & livelihood หรือ การมองหาพืชทางเลือกโดยคำนึงถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นองค์รวม และการทำแบบสอบถามเกี่ยวกับการมองหาพืชทางเลือกให้กับเกษตรกรใหม่ ซึ่งพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เปิดใจรับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการประกอบอาชีพและเชื่อว่าเป็นสิ่งที่สมควรทำ ควบคู่ไปกับความเป็นไปได้ของความต้องการของตลาดและชุมชน ซึ่งมีความต้องการผักเพื่อการบริโภค เนื่องจากในปัจจุบันมีผลผลิตภายในจังหวัดไม่เพียงพอสืบเนื่องจากปัญหาการปลูกพืชไร่ ต้องนำเข้าผักจากต่างจังหวัด ส่งผลให้ผักมีราคาสูง ซึ่งปัจจุบันจังหวัดน่านเองก็ให้ความสำคัญกับปัญหาเหล่านี้ จึงให้มีความร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการศึกษาการปลูกผักอินทรีย์ในจังหวัดน่านให้ได้ตามมาตรฐานสากล และยังมีการตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมหรือ AIC โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อสนับสนุนเกษตรกรในจังหวัด
Redevelopment Planning
จากการศึกษา จึงมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาโครงการ สู่การเป็นสวนเกษตรอินทรีย์และพื้นที่สร้างประสบการณ์จากกลุ่มเกษตรกรสถานีบ่มใบยา นำเสนอผ่านคอนเซปต์การเสริมสร้างความสุขอย่างเป็นองค์รวมตามฉบับภูมิปัญญาชาวน่าน เพื่อเปิดโอกาสให้คนได้เข้ามาใกล้ชิดกับกระบวนการผลิตและสนับสนุนชุมชนอย่างแท้จริง ภายใต้ชื่อโครงการโรงบ่มอุดมสุข สุขกาย(physical) สุขใจ(spirit) สุขสังคม(social)
โดยมีลำดับการจัดการโครงการเป็น 3 ขั้นตอน คือ การแก้ไขปัญหา ส่งเสริม ต่อยอด
1. แก้ไขปัญหา
ในขั้นตอนการเริ่มต้นการแก้ไขปัญหา จะมีการเสนอพืชทางเลือกให้กับกลุ่มเกษตรกร เนื่องจากลูกไร่จะปลูกข้าวในช่วงหน้าฝนและมีช่วงพักนาในหน้าหนาว-หน้าร้อน โดยพืชพันธุ์ที่เลือกปลูกจะเน้นไปที่พันธุ์ท้องถิ่นและพืชที่มีความต้องการ โดยทำการศึกษาจากลักษณะการบริโภคและการใช้เพื่อเป็นสมุนไพรบำรุงร่างกายในรูปแบบต่างๆตามภูมิปัญญาน่าน พร้อมทั้งศึกษาช่วงเเวลาและสภาาพแวดล้อมต่างๆที่พืชต้องการเป็น guideline ในการปลูกเบื้องต้น รวมถึงใช้ในการออกแบบขั้นต่อไป
2. ส่งเสริม
ปรับพื้นที่ในโครงการเป็นพื้นที่ทดลองระหว่างกลุ่มเกษตรกร รวมถึงจัดให้มีพื้นที่สำหรับกระจายสินค้า ผลผลิต ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนต่างๆ ส่งผลให้คนในพื้นที่เข้าถึงสินค้าได้ง่ายขึ้น และได้รับราคาที่เป็นธรรม
3. ต่อยอด
นำผลผลิตที่ได้มาต่อยอดอีกขั้น เป็นทั้งผลิตภัณฑ์และกิจกรรมภายในโครงการ โดยนำเสนอภายใต้คอนเซปตำรับยาเมืองน่านผ่านอาคารเก่าที่มีเอกลักษณ์ ที่จะมีกิจกรรมทั้งด้านการบำรุงสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม ให้เกิดการสุขกาย สุขใจ สุขสังคม ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี holstic well being ให้บริการตลอดทั้งปี โดยพื้นที่โครงการจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ สถานีเกษตรอินทรีย์ กาดเต๋าบ่ม และ Museum stay&spa
Planning and Design Development
การพัฒนาแบบได้นำ layer ของข้อมูลจากการวิเคราะห์ และความเป็นไปได้ในการวางโปรแกรม 3 โซน ส่วนเกษตร ส่วนตลาด และส่วนมิวเซียมมาซ้อนทับกัน พบว่าศักยภาพในการปรับพื้นที่เป็นส่วนเกษตรกรรม ซึ่งจะอยู่ในบริเวณของพื้นที่โล่งที่ไม่ได้ใช้ในการบ่มยาสูบเดิม ควรให้มีการตั้งแนวพืชกันลมเพื่อป้องกันส่วนเกษตรจากลมหุบเขาทางทิศใต้ โดยในแต่ละพื้นที่ก็จะเหมาะกับการทำการเกษตรในรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามลักษณะภูมิประเทศและพรรณไม้เดิิม ซึ่งจะแบ่งเป็นกลุ่ม crop rotation พื้นที่ที่มีศักยภาพในการเป็นแปลงทดลองของลูกไร่ยาสูบทำนาข้าวสลับกับผักตามฤดูกาล / terrace crop พื้นที่ที่มีความชันมาก เหมาะกับการปรับปรุงความชันของพื้นที่และปลูกพืชแบบขั้นบรรได และส่วน agroforestry ที่สามารถปลูกพืชหลายระดับในบริเวณป่าเก่า รวมถึงระบุบริเวณที่สามารถขุดบ่อน้ำเพิ่มเติมเพื่อรองรับการกักเก็บน้ำสำหรับใช้ภายในโครงการ ส่วนกิจกรรมอื่นๆสามารถใช้เป็นบริเวณโรงบ่มยาสูบเก่าได้
ผังแม่บทของโครงการ
และได้ทำการพัฒนาต่อจนนำมาสู่ masterplan และบรรยากาศภายในโครงการ ซึ่งมีจุดเด่นในการรวบรวมกิจกรรมหลักที่มีความคึกคักอยู่กลางข่วง ซึ่งเป็นหัวใจโครงการ ที่สามารถเชื่อมไปตามลักษณะผู้ใช้งานได้โดยรอบโครงการมากที่สุด รูปแบบการวางผังนี้จะเน้นให้ความสำคัญไปที่ความเป็น community ที่ทุกคนสามารถเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ง่าย เกิดความสุขใจ สุขกาย สุขสังคมได้มากที่สุด
บรรยากาศภาพรวมของโครงการ
จากอาคาร Info Center ของโครงการซึ่งได้ปรับเปลี่ยนมาจากอาคารโรงซื้อยาโบราณ จะสามารถเชื่อมมาสู่เส้นทางเดินบริเวณ Museum Trial ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับเกษตรกรไร่ยาสูบและความเป็นมาของโครงการ พร้อมทั้งยังเป็นที่พักผ่อนให้กับผู้ที่มาเข้าชมได้อีกด้วย
จากบริเวณตลาดใจกลางโครงการซึ่งออกแบบโดยใช้ระบบ grid เสาเดียวกับเตาบ่มยาสูบโบราณ สามารถเชื่อมออกมายังโครงการบริเวณแปลงนาข้าว ซึ่งเปิดให้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมสำหรับผู้มาเยี่ยมชม และพื้นที่ทดลองระหว่างกลุ่มสมาชิกเกษตรกรและพ่อเลี้ยง เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้และพัฒนาโครงการได้อย่างยั่งยืน