จากการวิเคราะห์ทั้งประวัติศาสตร์, กายภาพพื้นที่, สภาพเศรษฐกิจ, สภาพสังคม และแผนพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่โครงการทั้งหมดจึงเกิดเป็นวิสัยทัศน์ “พิมายเมืองเก่าเล่าใหม่” เล่าใหม่ผ่านแนวคิด “Ecomuseum” ซึ่งคือการสร้างการรับรู้ใหม่ หรือ พัฒนาคุณค่าใหม่ ให้กับประวัติศาสตร์หรือวัฒนาธรรมเดิมในพื้นที่ จึงแบ่งการเล่าออกมาเป็นสองเรื่อง เรื่องแรกคือเล่าของเดิม คือการเล่าเรื่องของการซ้อนทับกันของการพัฒนาพื้นที่หลายยุคหลายสมัย มีวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมเรื่อยมา จึงเกิดเป็น Cultural Experience ที่แบ่งเป็นเรื่องของการเรียนรู้ อาหาร และการท่องเที่ยวเชิงประสบการณื และ การเสริมของใหม่ คือการเอาประวัติศาตร์ขอมเดิมมาตีความ จากการใช้งานของปราสาทขอมที่เรียกว่าอโรคยาศาลา จึงเกิดเป็น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ แบ่งออกเป็นกลุ่ม Health & Wellness และ กลุ่มสูงอายุ ซึ่งสามารถตอบโจทย์นโยบายประเทศ เช่นเรื่องของการเป็น medical hub อีกด้วย
โดยแนวโน้มอนาคตที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวนั้นมีทั้งกลุ่ม Health & Wellness Tourism, Silver Tourism, Gastronomic Tourism, Educational Tourism และ Experiential Tourism
จากแนวคิดจึงเกิดขึ้นมาเป็นกลุ่มผู้ใช้งาน และ persona ในอนาคต แบ่งออกเป็นห้าหลุ่ม ประกอบด้วย นักท่องเที่ยวเชิงสุขาพ นักท่องเที่ยวสูงอายุ กลุ่มการศึกษา นักท่องเที่ยววัฒนธรรมอาหรและ นักท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ซึ่งจะมีความต้องการทางกิจกกรมที่แตกต่างกันออกไป
จากวิสัยทัศน์และการวิเคราะห์ นำมาสู่การพัฒนา Masterplan ของโครงการที่จะมีการพัฒนาภูมิทัศน์ตัวเมือง ส่งเสริมมุมมองตามถนนแกนสำคัญ และให้พื้นที่เมืองสามารถเดินได้เดินที่ และยังมีการพัฒนาโครงการย่อยอีกทั้งหมด 6โครงการย่อยด้วยกัน
พื้นที่โครงการย่อยแรกจะเป็นพื้นที่ประตูชัย ซึ่งตามประวัติศาสตร์เดิม พื้นที่นี้จะเป็นพื้นที่หลักในการเข้าสู่เมืองพิมาย ซึ่งปัจจุบันตัวพื้นที่นี้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวไม่ได้ใช้เป็นทางเข้าเมืองหลัก และมีการใช้พื้นที่ลานบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของประตูเป็นพื้นที่ตลาดนัด จึงจะต้องมีการสร้างการรับรู้พื้นที่และส่งเสริมให้เกิดการเข้าเมืองจากพื้นที่นี้ตามประวัติศาสตร์เดิม จึงมีการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นจุดบริการนักท่องเที่ยวหลัก ซึ่งจะเป็นพื้นที่จอดรถยนต์หลักสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งกลุ่มเล็ก และ รถบัสขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีอาคารที่ให้บริการข้อมูล พื้นที่locker ห้องนำ้ และ บริการเช่าจักรยาน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเดินเที่ยวในพื้นที่เพื่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ชุมชน
การออกแบบพื้นที่เน้นร่มเงาและการใช้ต้นไม้ในการกรอบมุมมองจากประตูชัย สู่ปราสาทหิน
ตัวอาคารมีการควบคุมสีวัสดุให้สอดคล้องกับความเป็นสัจจะวัสดุของปราสาทหิน มีการใช้อิฐ ปูนเปลือย และ ศิลาแลง และยังมีการสร้างแสงเงาตกกระทบบนพื้นผิวอาคารที่เป็นแพทเทิร์น ซึ่งถอดแบบและ simplified มาจากแพทเทิร์นแสงเงาตกกระทบผ่านช่องแสงของปราสาท
พื้นที่โครงการย่อยที่ 2 จะเป็นพื้นที่โรงหนังศรีผ่อง โรงหนังท้องถิ่นอยู่คู่พิมายมานาน ซึ่งได้ปิดตัวลงจากการ disrupt ของ modern trade ปัจจุบันอาคารพื้นที่โรงหนังไม่ได้มีการใช้งาน มีเพียงร้านค้าเล็กๆที่อยู่พื้นที่ด้สนหน้าที่ยังเปิดบริการอยู่ จึงเกิดเป็นแนวคิดที่จะนำอาคารนี้กลับมาใช้ใหม่ในการเล่าประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของพื้นที
จึงเกิดเป็นการ adaptive reuse อาคารโรงหนังเก่าเป็น “Sripong Social Club” การใช้งานอาคารจะมีการส่งเสริมให้มีการใช้งานตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน กลางวันจะมีการใช้งานเป็น Co-Working Space และห้องสมุดชุมชน และ Gallery ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งคนทั่วไปและนักเรียนจากโรงเรียนที่ในพื้นที่ ในตอนกลางคืนจะมีการปรับเปลี่ยนการใช้งานพื้นที่เป็น Bar และมีการแสดง Live music session สะท้อนประวัติศาสตร์เดิมที่มีนักดนตรีที่มีชื่อเสียงหลายคนที่เดินสายแสดงดนตรีตามเมืองต่างๆ ที่ได้มาแสดงตามโรงหนังในพิมายในยุครุ่งเรืองของพื้นที่และดึงดูดให้นักท่องเที่ยวใช้เวลาในพื้นที่มากขึ้น
การใช้งานพื้นที่จะมีการใช้งานเป็นพื้นที่สาธารณะทั้งภายในอาคาร และ พื้นที่นอกอาคาร ที่สามารถใช้เป็นพื้นที่สาธารณะของชุมชนโดยรอบได้
พื้นที่โครงการย่อยที่ 3 จะเป็นพื้นที่กิจกรรมที่สำคัญอีกแห่งของพิมาย ซึ่งปัจจุบันมีการใช้งานเป็นสนามแข่งเรือเพียงปีละหนึ่งครั้ง ขาดการใช้งานในชีวิตประจำวันเนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่ค่อยเอื้ออำนวย
จึงเกิดเป็นแนวคิดที่จะพัฒนาให้พื้นที่ริมนำ้แห่งนี้เป็นพื้นที่สาธารณะที่นอกจากจะเป็นพื้นที่พักผ่อนของคนในพื้นที่แล้ว ยังสามารถใช้เป็นพื้นที่ค้าขายอาหาร รองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ที่จะเกิดขึ้น และ ยังมีการ utilise พื้นที่ลำนำ้ให้เกิดกิจกรรมเชิงสุขภาพไม่ว่าจะเป็น กีฬา extreme ทั้งหลายเช่น wakeboard jet-ski และ การพายเรืออีโปงท่องลำนำ้ประวัติศาสตร์ ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว และ คนในพื้นที่ การออกแบบพื้นที่จึงมีการปรับปรุงแนวขั้นบันไดเดิมสร้างร่มเงาทั่วทั้งแนว มีการเปิดมุมมองขั้นบันไดบริเวณเส้นชัยของสนามแข่งเรือ และการออกแบบพื้นที่ให้เกิด place making ผ่านออกแบบ element ที่ถอดมาจากโบราณสถานในพื้นที่ เช่น planter ที่ถอด mettapattern และ simplifiedจากรูปด้านของปราสาทหินพิมาย ที่เมื่อมองจากด้านหน้าจะเห็นยอดปรางค์สามยอด มีการเปิดพื้นที่ท่านำ้ที่วางตำแหน่งล้อมาจากการวางผังต่อเนื่องจากปราสาทหินผ่านแนวคิดของภูมิจักรวาล การใช้วัสดุหินและศิลาแลงในการปู pave พื้นที่ผิวถนน
พื้นที่นี้จึงสามารถใช้งานได้ทั้งคนในพื้นที่ นักท่องเที่ยว และ ส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจในชุมชน
มีพื้นที่ facilities ทั้งห้องนำ้และพื้นที่นั่งพักผ่อนที่ร่มรื่นย์
พื้นที่โครงการย่อยที่ 4 จะเป็นพื้นที่บ้านส่วยใน พื้นที่ชุมชนที่มีการขุดค้นเจอโบราณวัตถุพิมายดำที่เป็นหลักฐานของการมีอยู่ของชุมชนมาตั้งแต่ยุคสำริด ปัจจุบันในตัวพื้นที่มีการพัฒนาพื้นที่พิพิธภัณฑ์ชุมชนจัดแสดงโบราณวัตถุ และ ข้าวของเครื่องใช้ของคนในยุคก่อน อีกทั้งยังมีกิจกรรมหลุมขุดค้นจำลอง ที่มีไว้สำหรับเด็กนักเรียน แต่พื้นที่นั้นขาดการรับรู้ต่อคนทั่วไปการเข้าถึงเป็นไปได้ยาก
จึงจะสร้างการรับรู้ด้วยการปรับ pave ถนนให้เป็นแบบเดียวกันกับเส้นทางการท่องเที่ยว cultural route และสร้างแลนด์มาร์คด้วย pavilion จัดแสดงโบราณวัตถุที่เคยจัดแสดงอยู่ในตัวอาคาร ปรับพื้นที่ในอาคารขยาหลุมขุดจำลองให้ใหญ่ขึ้น การออกแบบ pavilion มีการสร้าง negative space ที่ถอดมาจากรูปรางของปรางค์ปราสาทหินพิมาย
นอกจากการใช้งานเพื่อการท่องเที่ยวเรียนรู้แล้ว ยังสามารถใช้งานเป็นพื้นที่สาธารณะของคนในชุมชน นั่งพักผ่อน และส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจในชุมชน
พื้นที่โครงการย่อยที่ 5 จะเป็นพื้นที่สาธารณะสำคัญของพิมายอยู่ทางทิศเหนือของปราสาท ซึ่งมีทั้งหมดสองพื้นที่ได้แก่ สระเพลง ที่เป็นบารายโบราณขนาดใหญ่ มีการใช้งานเป็นสวนสาธารณะออกกำลังกายของคนในพื้นที่ ต่อมาเป็นพื้นที่ไทรงาม ที่เป้นพืนที่สีเขียวที่เกิดจากการแผ่ขยายกิ่งก้านของต้นไทรเพียงต้นเดียว และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ที่เป็นพื้นที่จัดแสดงโบราณวัตถุสำคัญหลากหลายชิ้น ปัจจุบันขาดความน่าสนใจ เป็นพื้นเพียงที่เก็บโบราณวัตถุ
จึงเกิดเป็นแนวคิดที่จะเชื่อมพื้นที่ทั้งสามเข้าด้วยกันให้เป็นพื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่ โดยที่พิพิธภัณฑ์จะถูกเสริมกิจกรรมดึงดูดนักท่องเที่ยวผ่านการเพิ่มกิจกรรมคลาสการเรียนรู้และลงมือในเรื่องของ Art & Craft และ Culinary ในส่วนของพื้นที่สีเขียวจะมีการเชื่อมโยงพื้นที่สะเพลงและไทรงามเข้าด้วยกัน ส่งเสริมกิจกรรมทางสุขภาวะทั้งการมี Outdoor Gym การมีพื้นที่เชื่อมโยงกิจกรรมทางนำ้การพายเรือล่องลำนำ้ประวัติศาตรา์ สนามเอนกประสงค์สามารถเป็นพื้นที่แสดงดนตรี ตามเรื่องเล่าโบราณว่าเป็นที่เล่นดนตรีซึ่งเป็นที่มาของชื่อสระเพลง และเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งพื้นที่ศาลาพักผ่อน ห้องนำ้ และ ที่จอดรถให้เป็นระบบ
โครงการย่อยสุดท้ายจะเป็นการพัฒนาที่พักเชิงสุขภาพส่งเสริมและรองรับนักท่องเที่ยว “Vimayapura Wellness Resort and Spa” ที่พักระดับดีรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะ โดยการพัฒนานี้จะเป็นโครงการแบบ Public-Private Partnership โดยใช้ที่ดินราชพัสดุของรัฐ พัฒนาโครงการโดยเครือโรงแรมระดับดี สนับสนุนราคาสำหรับนักเรียนนักศึกษาและราชการโดยรัฐ โดยพื้นที่publicที่คนทั่วไปสามารถใช้งายได้ จะมีทั้ง ร้านอาหารสุขภาพ บาร์ สปา ยิม สระว่ายนำ้ และ กิจกรรมทางนำ้ รองรับกิจกรรมคลาสเพื่อสุขภาพต่างๆเช่น โยคะ ทรีทเม้น ดีท็อกซ์ และ กิจกรรมออกกำลังกายต่างๆทั้งทางบกและนำ้ รวมไปถึงการให้บริการ Wellness clinic ให้บริการและปรึกษาสุขภาพทางเลือก
การออกแบบจะต้องสะท้อนถึงโบราณสถาน เช่นซุ้มประตูที่ตกแต่งให้เกิด negative space รูปปรางค์ปราสาท การใช้วัสดุศิลาแลง
การตกแต่งอาคารต่างๆเน้นเรื่องสัจจะวัสดุที่ถอดจากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และ ต้องมีบรรยากาศร่มรื่นย์
ต่อมาจะเป็นการควบคุมไกด์ไลน์ของเมือง เริ่มต้นด้วยเรื่องของความสูง โดยเฉพาะพื้นที่ที่ประชิดกันกับโบราณสถาน ที่จะต้องไม่มีความสูงจนทำลายภูมิทัศน์ของโบราณสถาน เช่น พื้นที่หลังปราสาทหินพิมายจะต้องสูงไม่เกินสิบเมตร เมื่อมองมายังตัวปราสาทจากถนนจอมสุดาเสด็จที่เป็นถนนเส้นสำคัญจะต้องไม่มีอาคารสูงเกินตัวปราสาททำลายภูมิทัศน์พื้นที่ และอาคารที่ขนาบข้างถนนชั้นที่สูงเกินสิบเมตรขึ้นไปจะต้องมีระยะล่นเพื่อให้มีความ Human-Friendly และจะต้องมีการกรอบมุมมองด้วยต้นไม้ และ กรอบด้วยชายคาในช่วงถนนที่ใกล้กับปราสาทเพื่อเปิดมุมมอง
วัสดุหน้าอาคารตามถนนเส้นสำคัญจะต้องมีการควบคุมหน้าตาอาคารด้วยวัสดุและสีที่สอดคล้องกับโฐราณสถานและสอดคล้องกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ตัววัสดุและelementต่างๆเช่นช่องลมมีการถอดมาจากข้อมูลการทำ “Vernadoc” สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในพื้นที่ การออกแบบถนนและทางเท้าจะต้องมีการยกระดับทางข้ามเพื่อชะลอรถยนต์และสามารถใช้งานได้ทุกคน ทางเท้าจะต้องมีขนาดกว้างกว่า 1.5 m. เพื่อรองรับวีลแชร์สำหรับการเป็นสังคมสูงอายุ มีการให้ร่มเงาด้วยต้นสาธร ต้นไม้ประจำจังหวัดนครราชสีมา เสาไฟที่มีการตกแต่งให้สะท้อนความเป็นเมืองเก่า เรียบง่าย ไม่โดดเด่น ซ้อนตัวตามแนวพุ่มไม้ ขนาดสูง3m. ไม่เกินชั้นหนึ่งของอาคาร มีการใช้พื้นผิวหินขรุขระตามถนน”เส้นท่องเที่ยว Cultural route” เพื่อสร้างการรับรู้และชะลอความเร็วรถยนต์ปลอดภัยต่อการเดินถนน และ เส้นถนนแนวกำแพงเมืองเดิมจะมีการใช้วัสดุหินสีนำ้ตาล และ แซมด้วยศิลาแลงเพื่อสร้างการรับรู้ถึงขอบเขตเมืองเดิมตามประวัติศาสตร์
และท้ายที่สุดจะเป็นการจัดการการสัญจรในพื้นที่ จะประกอบไปด้วยการเพิ่มทางจักรยานเพื่อส่งเสริมในเรื่องของสุขภาวะและการเป็นเมืองที่เน้นการเดินเท้าและรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีการจัดระเบียบการจอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ให้เป็นระเบียบเพื่อให้สามารถเพิ่มขนาดทางเท้าได้ และ เพิ่มระบบ shuttle bus เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่สำคัญต่างๆในเมืองจากแต่เดิมไม่มีระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่นอกจากจักรยานยนต์นับจ้าง และสุดท้าย คือการปรับเส้นทางเดินรถรอบปราสาทหินพิมายที่ถนนมีขนาดเขตทางที่แคบ เพื่อชะลอรถยนต์ เพิ่มช่องทางจักรยานและขยายทางเท้า
พื้นที่ถนนบล็อคสุดท้ายของถนนจอมสุดาเสด็จปบริเวณหน้าปราสาทมีการเปิดมุมมองและกรอบสายต่าด้วยชายคา ไม่ใช้ต้นไม้ให้บดบังมัมมองสำคัญ
ถนนสำคัญอื่นๆมีการเพิ่มร่มเงาด้วย”ต้นสาธร” ขยายทางเท้าให้พิมายสามารถเดินได้และเดินดี
จากโครงการย่อยและการควบคุมทั้งหมดคาดว่าจะสามารถเป็นแนวทางที่เสนอให้ใช้เครื่องมือทางผังเมืองที่สามารถจัดการบริหารพื้นที่ที่มีความละเอียดอ่อนแทนการใช้เพียงเครื่องมือตามกฎหมายโบราณสถาน เพื่อให้ชุมชน สามารถที่จะอยู่ร่วมกับโบราณสถานได้อย่างยั่งยืน