ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนเหล่านี้จะถูกเรียกว่าบ้านต่างๆ ซึ่งสาเหตุที่ต้องมีบ้านเหล่านี้ เพราะว่าบ้านจริงๆของเด็กนั้น ไม่มีความสามารถในการดูแลเด็ก ให้เติมโตได้อย่างเป็นประชากรที่มีคุณภาพ โดยบ้านหลังใหม่นี้ จะทำหน้าที่เป็นบ้านทดแทน เป็นบ้านที่สร้างสังคมใหม่ให้กับเด็กและเยาวชน สร้างความเข็มแข็งให้กับเด็กและเยาวชน
โดยแนวความคิดในการออกแบบนั้น ริเริ่มมาจากการศึกษาบ้านกาญจนาภิเษก ศึกษาพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน คุณครู ผู้ดูแล และ กิจกรรมการใช้สอยต่างๆ มาเป็นกรอบการออกแบบ ไม่ได้คิดเองซึ่งบ้านกาญจนาภิเษกนี้เป็นศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนแนวใหม่ ที่ถูกเรียกว่าศูนย์ฝึกไร้รั้ว และถูกยกให้เป็นโครงการนำร่อง แนวคิดคือเขาจะไว้ใจเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดและถูกส่งมาที่นี่ ด้วยแนวคิดที่ต่างจากจุดมุ่งหมายของศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนที่อื่น ที่ต้องการกักขังและลงโทษเด็กที่กระทำความผิด จึงทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมไทย แต่หลังจากนั้นบ้านกาญนาภิเษกก็สามารถพิสูจน์ได้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นเป็นผลดี ในแง่ตัวเด็กและเยาวชน และ สังคมภายนอกของเด็กและเยาวชน เนื่องจากได้ผลลัพธ์ดี ปัญหาเปอเซ็นการกระทำผิดซ้ำซึ่งเป็นปัญหาหลักในเรื่องการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนนั้นลดลงอย่างมาก เวิร์ค แต่กายภาพของบ้านกาญจนาภิเษกก็ยังไม่ตอบโจทย์ในทั้งแนวคิดและสถาปัตยกรรม ในการออกแบบจึงนำ กิจกรรม และ พฤติกรรม ที่เกิดขึ้นในบ้านกาญจนาภิเษกนั้น มาศึกษาและเป็นกรอบของการออกแบบ โดยเริ่มจากการศึกษาพฤติกรรมจากตารางกิจกรรม
พฤติกรรมที่เกิดขึ้น คือ การที่ที่แห่งนี้ทำหน้าที่เป็นเหมือนจุดกึ่งกลางระหว่าง บ้าน และ โรงเรียน ให้กับเด็กเด็กและเยาวชน เสมือนว่าเป็นโรงเรียนชีวิต สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ความสัมพันธ์ หรือ ปฏิสัมพันธ์ (Bond) ของเด็กและเยาวชน เด็กกับเด็ก เด็กกับคุณครู เด็กกับสถานที่ โดยความสัมพันธ์ หรือ ปฏิสัมพันธ์ (Bond) เหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็กมีคุณค่าและรู้คุณค่าในตนเอง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ตัวเลขอัตราส่วนการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนนั้นลดลง
บวกกับที่โครงการประเภทนี้ไม่ต้องการให้เกิดมุมอับสายตา แต่จารการศึกษาทั้งบ้านกาญจนาภิเษกและกรณีศึกษาอื่นๆ พบว่า พื้นที่ใช้สอยกิจกรรมกลางวันและกลางคืนถูกแยกกัน ทั้งนี้เพื่อระบบการจัดการที่ง่าย แต่สิ่งนี้ทำให้เกิดพื้นที่ตาย จากไดอะแกรมแนวความคิดแสดงให้เห็นว่า เมื่อพื้นที่กลางวันถูกใช้งาน พื้นที่กลางคืนจะกลายเป็นเป็นพื้นที่ตาย ซึ่งก็คือไม่มีคนใช้งาน และเมื่อพื้นที่กลางคืนถูกใช้ พื้นที่กลางวันก็กลายเป็นพื้นที่ตาย ไม่มีคนใช้งานและไม่มีคนอยู่ เกิดพื้นที่ตาย โดยจะมีพื้นที่ตายเกิดขึ้นตลอดในโครงการ จึงได้ทดลองทำความเป็นไปได้ในการออกแบบต่างๆ หาความเป็นไปได้ของการวางผังที่ให้เกิดพื้นที่ตายน้อยที่สุดหรือไม่ให้เกิดพื้นที่ตาย จนเกิดเป็นไอเดียของการซ้อน (stack) ของพื้นที่ใช้สอยกลางวันกลางคืนขึ้น
การซ้อนของพื้นที่ใช้สอยกลางวันกลางคืน ด้านบนเป็นเรือนนอนด้านล่างเป็นส่วนกลาง ประโยชน์ก็คือ เด็กและเยาวชนภายในจะช่วยสอดส่องดูแลกัน จะไม่เกิดพื้นที่ตาย พื้นที่ active ตลอด 24 ชั่วโมงทั่วทั้งพื้นที่โครงการพื้นที่ใช้สอยในช่วงกลางวัน และกลางคืนไม่มืดเกินไปไฟส่องสว่างถึงกัน
โดยเมื่อเกิดรูปแบบการใช้ชีวิตแบบ ข้างบนบ้าน ข้างล่างส่วนกลาง จึงนำไปสู่แนวความคิดในการออกแบบหรือรูปแบบการชีวิตแบบหมู่บ้าน หมู่บ้านที่เจ้าของบ้านข้างบนดูแลส่วนกลาง (facilities) ด้านล่าง แบ่งปันเรื่องราวให้กับเพื่อนบ้าน บ้านเล็กๆ รวมเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ชาวบ้านเกื้อหนุนกัน ดูแลกัน แลกเปลี่ยนกัน แสดงถึงสังคมที่ทุกคนคอยดูแลกัน มีอิสรภาพซึ่งกันและกัน แต่ก็ยังถูกกำหนดอยู่ในขอบเขตของหมู่บ้าน สิ่งนี้จะช่วยพิสูจน์ให้กับสังคมภายนอกได้ว่า เด็กจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นประชากรที่มีคุณภาพ
แนวคิดทั้งหมดส่งผลให้เริ่มการวางผังบริเวณ โดยที่เริ่มจากการจัดพื้นที่ใช้สอยให้แผ่ทั่วพื้นที่โครงการโดยมีเส้นทแยงมุมซึ่งเป็นแกนที่ยาวที่สุดเป็นตัวยึด ร่วมกับการที่ทิศทางตอบกับทิศของแดดและลม เพื่อให้ใช้พื้นที่โครงการได้เต็มประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้เกิดพื้นที่อับ ใช้พื้นที่ในโครงการได้เต็มประสิทธิภาพจากมุมถึงมุมพื้นที่โครงการ มีการจัดวางให้พื้นที่เปิดขนาดใหญ่อยู่กลางพื้นที่โครงการ และมีอาคารหลักล้อมรอบ
ส่วน Detail B คือส่วนที่รวบรวมเวิร์คชอปกับห้องเรียน กศน. ไว้ด้วยกัน ตั้งอยู่บริเวณทิศเหนือของที่ตั้ง และอยู่ตามแนวของทางสัญจรหลัก ประกอบด้วย เวิร์คชอปทอผ้า เวิร์คชอปตัดเย็บผ้า ส่วนตกปลาและเตรียมอุปกรณ์ และ ห้องเรียน
ส่วนของห้องเรียน เป็นการเรียนหนังสือตามหลักสูตร กศน. (การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย) โดยสามารถเรียนจบการศึกษาได้จากที่นี่ได้