เด็กพิเศษในประเทศไทยที่ประกอบด้วย เด็กออทิสติก สมาธิสั้น สมองพิการและบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยจากสถิติในปัจจุบันมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ (โดยรวมแล้วประมาณ 21% ของปริมาณเด็กทั้งหมด) นับเป็นตัวเลขที่สูงมากซึ่งในประเทศไทยมีเด็กได้รับการรักษาอย่างถูกต้องน้อยมาก (เพียง 25%) ทำให้เด็กๆเหล่านี้ยังต้องพาผู้อื่นในการดำรงชีวิต
อาชาบำบัดเป็นวิธีการบำบัดทางเลือกสำหรับเด็กกลุ่มที่มีความบกพร่องต่าง ๆ โดยใช้ม้าเป็นตัวกลางในการบำบัด ซึ่งเมื่อเด็กมีการพัฒนาความสัมพันธ์กับม้าจะทำให้เกิดพัฒนาการทางด้านต่าง ๆ ตามมาทำให้สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป และสามารถอยู่ในสังคมกับบุคคลอื่นได้อย่างเหมาะสม
นอกจากการมีปฏิสัมพันธ์กับม้าการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กพิเศษและสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา และสังคม โดยเด็กพิเศษจะมีข้อจำกัดในการเล่นหรือออกไปในสถานที่ต่างๆได้น้อยกว่าเด็กทั่วไป เนื่องจากผู้ปกครองไม่กล้าให้ออกไปเจอสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเพราะกลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้น จึงให้เด็กพิเศษอยู่แต่ในที่พักส่งผลให้เด็กไม่เกิดพัฒนาการที่ดีตามวัย
โครงการของเราจึงสร้างสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในหลากหลาย character ให้เด็กพิเศษได้ exploring nature ในสภาพแวดล้อมที่มีความสมดุลระหว่างความท้าทายและความปลอดภัย โดยมีการแยกย่อยออกมาเป็น 3 ปัจจัย ได้แก่
- Environment feature โดยถอดรูปแบบของธรรมชาติมาเป็นองค์ประกอบเพื่อสร้างบรรยากาศ และส่งเสริมพื้นที่ในลักษณะต่างๆ
- Shape, form, material ที่เป็นธรรมชาติ
- Activities การเล่น การเรียนรู้ที่มีการเชื่อมโยงสอดคล้องกับธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม
จากแนวความคิดในการออกแบบโครงการที่มีการมุ่งเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กพิเศษและสิ่งแวดล้อม และมีการแยกย่อยออกมาเป็น 3 ปัจจัย รวมถึงการวิเคราะห์ลักษณะของพื้นที่ทำให้เกิดการสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในแต่ละส่วนพื้นที่ โดยมีการส่งเสริมสภาพแวดล้อมเดิมให้มีเอกลักษณ์เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในหลากหลายรูปแบบ ให้เด็กพิเศษได้ “ exploring nature” โดยสภาพแวดล้อมในแต่ละรูปแบบได้แก่ ป่า ทราย เนิน ถ้ำ ทุ่งหญ้า บ่อน้ำ จะถูกวางลงไปในแต่ละพื้นที่ซึ่งสอดคล้องกับสภาพพื้นที่เดิมและกิจกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ และจะมีความเข้มข้นที่จุดศูนย์กลางรวมสภาพแวดล้อมในหลากหลายรูปแบบ และเป็นตำแหน่งศูนย์รวมการบำบัดรูปแบบต่าง ๆ ที่มีความเข้มข้นที่บริเวณนี้
พื้นที่โครงการแบ่งพื้นที่กิจกรรมออกเป็น 4 พื้นที่หลักๆ ได้แก่ พื้นที่ส่วนต้อนรับ พื้นที่บำบัด พื้นที่บ้านพักอาศัย และเส้นทางขี่ม้าในธรรมชาติ
ส่วนต้อนรับ
ส่วนต้อนรับ มีการเชื่อมต่อระหว่างอาคารต้อนรับที่ให้บุคคลภายนอกหรือผู้ปกครองได้มาปรึกษาพูดคุยแนวทางการรักษาและคาเฟ่ที่ให้ผู้คนได้เข้ามาเยี่ยมชมทำความรู้จักกับอาชาบำบัด โดยมีคอกม้าที่ใช้ลดระยะห่างระหว่างเด็กกับม้า และคอกม้าที่ให้คนภายนอกได้ทดลองขี่ม้า โดยเมื่อเดินมาจากที่จอดรถหรือจุดรับส่งเข้ามาสู่อาคารต้อนรับมุมมองถูกเปิดไปสู่คอกขี่ม้าที่ใช้ทำกิจกรรมลดระยะห่างระหว่างเด็กกับมาโดยมีฉากหลังเป็นภูเขา และมีทางเดินเชื่อมต่อไปยังส่วนคาเฟ่เพื่อให้ผู้มาใช้บริการได้เห็นกิจกรรมการขี่ม้าที่เกิดขึ้น เห็นวิวทัศนียภาพภูเขาเป็นฉากหลัง รวมถึงมองเห็นไปยังส่วนอาชาบำบัดที่อยู่ด้านใน
บริเวณทางเดินเชื่อมต่อระหว่างอาคารต้อนรับและคาเฟ่ มีลักษณะเป็นทางเดินโค้งไปมา เนื่องจากต้องการให้มองเห็นบรรยากาศในมุมมองที่หลากหลาย รวมถึงมีการเจาะช่องแสงบริเวณเพดาน ทำให้ผู้ใช้งานมีความรู้สึกใกล้ชิดกับธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
แอมฟิเธียเตอร์ที่มีไว้เพื่อให้ผู้มาเยี่ยมชมหรือผู้ปกครองได้มานั่งดูกิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ในส่วนคาเฟ่ภายนอกมีการใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากหญ้าแห้ง ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์รวมถึงเป็นการสร้างบรรยากาศให้มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติและบริบทของพื้นที่โครงการ
บริเวณจุดส่องม้าที่มองออกไปยังทางแปลงแทะเล็มของกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 1 ทำให้เกิดมุมมองที่มองออกไปเห็นฝูงม้าแทะเล็มในธรรมชาติ
ส่วนพื้นที่บำบัด
เป็นพื้นที่รวมการบำบัดโดยมีพื้นที่กิจกรรมบำบัดหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ พื้นที่กิจกรรมบำบัดแบบเดี่ยว พื้นที่กิจกรรมบำบัดแบบกลุ่ม สนามเด็กเล่นธรรมชาติ พื้นที่กิจกรรมร่วมกับม้า พื้นที่กิจกรรมดูแลม้า และเกษตรบำบัด โดยในแต่ละพื้นที่ มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กพิเศษได้เกิดการเรียนรู้ทั้ง ทักษะทางสังคม – อารมณ์ ทักษะทางด้านสื่อความหมาย ทักษะการศึกษาการเรียนรู้ ทักษะการเคลื่อนไหวการกระตุ้นกล้ามเนื้อมัดเล็ก – มัดใหญ่ การทรงตัว รวมถึงทักษะการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม โดยในแต่ละพื้นที่มีการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเรียนรู้ในแต่ละรูปแบบ