งานออกแบบ เป็นสิ่งที่แทรกอยู่ในชีวิตประจำวันของเราทุกคน อีกทั้งเราเป็นทั้งผู้ออกแบบและผู้ใช้งานเองอีกด้วย โดยจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม การออกแบบนั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นสังคมที่ให้ความสำคัญกับงานออกแบบหรือการออกแบบ รวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ในสาขาต่างๆ ย่อมเป็นสังคมที่ดีกว่าสังคมไหนๆ และเราสามารถนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาควบคู่ไปกับสิ่งอื่นๆ เพื่อพัฒนาให้สังคมในปัจจุบันดีไปกว่าเดิมได้

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือ การนำความคิดสร้างสรรค์ประกอบกับการทำธุรกิจในสาขาต่างๆ เพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์และบริการให้มีมูลค่าสูงขึ้น เป็นสิ่งที่ทางภาครัฐพยายามขับเคลื่อนมาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่ปี 2545 ที่เริ่มมีการจัดตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่พัฒนาองค์ความรู้และดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จนสืบเนื่องมาจนปัจจุบันยังคงมีการพัฒนาเรื่องนี้มาโดยตลอด ประกอบกับจำนวนนักออกแบบในสาขาต่างๆ ทั้งนิสิตนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา และนักออกแบบมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่จำนวน แต่ยังเป็นมูลค่าของผลงานของนักออกแบบในสาขาต่าง ก็มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย

ศูนย์ส่งเสริมเเละพื้นที่ปฎิบัติการงานออกแบบสร้างสรรค์ จึงเป็นพื้นที่สำหรับกลุ่มนักออกเเบบ โดยเป็นทั้งพื้นที่สำนักงานเเละพื้นที่ส่วนกลางที่ตอบสนองต่อความต้องการ เพือสร้างสภาพเเวดล้อมการทำงานที่เหมาะสมเเละก่อให้เกิดการพัฒนา การทดลอง การเเลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถที่สนับสนุนเพื่อให้เกิดศักยภาพที่มากขึ้นสำหรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ยิ่งๆขึ้นไป

ย่านนวัตกรรมกล้วยน้ำไท เป็นย่านธุรกิจที่มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมบนความสร้างสรรค์และดิจิตัลสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) เป็นความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยกรุงเทพและสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) ด้วยตัวย่านนวัตกรรมกล้วยน้ำไทเป็นหนึ่งในย่านนวัตกรรมจาก 6 ย่านนวัตกรรม ที่เกิดขึ้นจากแผนไทยแลนด์ 4.0 ที่กล่าวถึงเรื่องการนำนวัตกรรมเข้ามามีบทบาทในภาคอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจในภาคต่างๆและยกระดับการทำงานในหลายอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้ e-commerce, e-logistics และ new-media จะถูกพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมกลุ่มแรกๆ เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและที่ตั้งดั่งเดิมที่ตั้งอยู่ในบริเวณนี้ และในอนาคตจะมีอุตสาหกรรมกลุ่มอื่นที่ถูกพัฒนา ซึ่งหนึ่งในนั้นมี ธุรกิจด้านการออกแบบและสถาปัตยกรรมรวมอยู่ด้วย ทำให้ในอนาคตพื้นที่บริเวณนี้จะเป็นแหล่งรวมของสำนักงานออกแบบในสาขาต่างๆ และส่วนอื่นสนับสนุนที่จะเกิดต่อไปในอนาคต

ขั้นตอนการออกแบบเริ่มจากพื้นที่ของตัวไซต์ มีการขยับพื้นที่ setback ตามกฎหมาย ต่อมาคือการวางโซนนิ่งของพื้นที่ในที่ตั้งของโครงการ โดยคิดจากลำดับการเข้าถึงของพื้นที่ในบริเวณต่างๆ จากทั้งทางถนนหลัก ซึ่งคือซอยสุขุมวิท42 และซอยข้างๆที่ตั้งทั้งสองด้านของตัวที่ตั้ง มีการเอาจำนวนพื้นที่ของโปรแกรมที่สรุปเรื่องของการใช้งานและผู้ใช้งานต่างๆเรียบร้อย นำวางลงไปในตัวโซนนิ่งบนที่ตั้งและมีการขยับอาคารในส่วนต่างๆ เพื่อช่วยในเรื่องของ orientation การวางด้านอาคารให้สัมพันธ์กับทิศทางของแดดและความร้อน ที่มีผลต่อการใช้งานในพื้นที่บริเวณนั้นๆ ต่อมามีการขยับอาคารทั้งสองส่วนเพื่อให้เกิดพื้นที่โล่งว่างทั้งภายในโครงการและด้านหน้าของโครงการ มีการยกพื้นชั้นหนึ่งของอาคารด้านหน้า เพื่อเชื่อมพื้นที่ทั้งสองส่วนที่กล่าวมานั้นเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการไหลของพื้นที่วางในโครงการ ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงพื้นที่บริเวณส่วนกลางของโครงการได้โดยง่าย

ขั้นตอนต่อมาคือการขยับพื้นที่อาคารบางส่วนเพื่อให้ได้การใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพและมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น หลังจากที่ได้พื้นที่และหน้าตาของอาคารแล้วจึงใส่พื้นที่สีเขียวลงไปในตัวโครงการในส่วนต่างๆ ทั้งพื้นที่บนชั้นดาดฟ้าและพื้นที่บริเวณ courtyard ตรงกลางของโครงการ และสุดท้ายคือการติดตั้งตัวรูปแบบ facade ของอาคารในทิศทางที่มีผลเรื่องของแสงแดดและความร้อน ทั้งในด้านหน้าของอาคารในทิศตะวันตกและบริเวณด้านหนังของอาคารที่เป็นทิศใต้และตะวันออก ซึ่งตัว facade ก็ได้มีการออกแบบไว้หลากหลายรูปแบบด้วยกันตามการรองรับการใช้งานและสภาพแวดล้อมที่ต่างกันออกไปของพื้นที่บริเวณนั้นๆ

ชั้น 1     อาคารด้านหน้าจะเป็น multipurpose area ที่ยกสูงขึ้นเพื่อเชื่อมพื้นที่ว่างภายใน courtyard และ พื้นที่ด้านหน้า plaza เข้าด้วยกัน ในส่วนอาคารสูงเป็นพื้นที่ lobby ของอาคารเองและด้านหลังเป็นพื้นที่จอดรถและส่วนสำนักงานของตัวโครงการและส่วนบริการดูแลงานระบบต่างๆของโครงการ ส่วนอาคาร workshop เป็นพื้นที่ของ wood workshop และ studio L และยังมี common area ของดีไซน์เนอร์ที่เป็นผู้ใช้งานหลักอีกด้วย

ชั้น 2     อาคารด้านหน้าและอาคารสูงจะเป็น exhibition area ทั้งชั้นที่สามารถเปิดพื้นที่เชื่อมกัน และมีส่วนเป็นที่จอดรถของโครงการ และอาคาร workshop เป็นพื้นที่ของ metal workshop และ studio M

ชั้น 3     อาคารด้านหน้าและอาคารสูงจะเป็น exhibition area ทั้งชั้นที่สามารถเปิดพื้นที่เชื่อมกันและพื้นที่ของสำนักงานของ exhibition และห้องเก็บของ และมีส่วนด้านหลังเป็นที่จอดรถของโครงการ ส่วนอาคาร workshop เป็นชั้นสุดท้าย เป็นพื้นที่ของ ceramic workshop, plaster workshop, printing workshop และ digital workshop2

ชั้น 4     ในอาคารด้านหน้าและอาคารสูงจะเป็นชั้นสุดท้ายของอาคารด้านหน้านี้ จะเป็นส่วน co-working space ที่มีการเจาะช่องแสงจากพื้นที่ดาดฟ้า และตัว co-working space เป็นพื้นที่ฟรีแปลนทำให้สามารถจัดแบ่งการใช้งานได้หลากหลายเพื่อตอบรับกับการเกิดของกิจกรรมต่างๆในอนาคต

ชั้น 5     อาคาร office tower เป็น common area ของโครงการเพราะเป็นทั้งส่วนโรงอาคารและส่วน common area เป็นพื้นที่ส่วนกลางที่สามารถเข้าถึงได้ทุกส่วน และยังมี roof garden ในชั้นดาดฟ้าของอาคารทั้งสองส่วนด้วยกัน

ชั้น 6-13 อาคาร office tower เป็นพื้นที่สำนักงานให้เช่าของนักออกแบบ มีขนาดตั้งแต่ 60-250 ตารางเมตร และในแต่ละชั้นจะมี  common area เพื่อเป็นห้องประชุมหรือพื้นที่ส่วนกลางของแต่ละชั้นอีกด้วย

CREATIVE PINS

โดยเปรียบเสมือนโครงการเป็นพื้นที่ artboard ว่างเพื่อให้เหล่านักออกเเบบในสาขาต่างๆ มามีส่วนร่วมในการออกเเบบในพื้นที่เหล่านี้ ตามโอกาสหรือระยะเวลานั้นๆ เพื่อสื่อสารหรือจัดเเสดงไอเดียความคิดออกไปสู่สังคมภายนอก โดยตัว Creative pins จะติดตั้งอยู่บริเวณ facade ทิศตะวันออกเเละตะวันตกของโครงการ ซึ่ง Creative pins จะมีทั้งหมด 3 รูปแบบ

เเบบ 1 เป็นตัวfacadeที่เล่นเรื่องการเปิดปิดของบานพับในรูปเเบบต่างๆ

เเบบ 2 คือใช้การออกเเบบองค์ประกอบสองมิติโดยวัสดุเป็น polycarbonate เนื่องจากเป็นการใช้งานไม่ถาวร เปลี่ยนตามโอกาสต่างๆ เป็นpolycarbonateในรูปทรงและสีที่ออกเเบบไว้

เเบบ 3 เป็นการใช้มีเดียที่ต่างกันออกไป เป็นการใช้ภาพเคลื่อนไหว โดยใช้จอledในขนาดต่างๆ

รูปทัศนียถาพภายในส่วนต่างๆ