แนะนำโครงการ


เชียงใหม่ ถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดในแผนพัฒนารถไฟความเร็วสูง ที่มีศักยภาพทั้งเป็นเมืองเศรษฐกิจและเมืองที่เป็นศูนย์กลางของภาคเหนือ อีกทั้งปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่กำลังวางแผนพัฒนาอย่าง แผนพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง(HSR) เพื่อการคมนาคมระหว่างจังหวัด และแผนพัฒนาพื้นที่ย่านสถานี(TOD) โดยรอบสถานีรถไฟเชียงใหม่ ตำแหน้งที่ตั้งโครงการอยู่บริเวณฝั่งตรงข้ามสถานีรถไฟเชียงใหม่ปัจจุบัน บนที่ดินของการรถไฟ(รฟท.) ซึ่งอยู่ทางฝั่งนวรัตน์ หรือย่านพัฒนาขยายตัวของเมืองเชียงใหม่ทางทิศตะวันออกของคูเมืองเชียงใหม่

ตำแหน่งที่ตั้งโครงการ

รูปแบบรางรถไฟ (Alignment) สถานีเชียงใหม่กำหนดให้เป็นสถานีปลายทางของเส้นรถไฟความเร็วสูงสายเหนือกรุงเทพ-เชียงใหม่ โดยสถานีรองรับรางรถไฟ 4 ราง ที่ยกระดับวางและต้องวางบนโครงสร้างเสา-คานใหญ่ ลักษณะเหมือนระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ รถไฟสายสีแดง และรถไฟสายอื่นๆที่จะพัฒนาในอนาคตของประเทศไทย

Intro to project
ข้อกำหนดรางรถไฟ สถานีเชียงใหม่

กระบวนการออกแบบ


ด้วยตำแหน่งสถานีเป็นสถานีปลายทาง ที่ตัวสถาปัตยกรรมจะต้องทำหน้าที่รองรับกิจกรรมระหว่างพักคอยของผู้โดยสารที่นานกว่าสถานีทั่วไป และกิจกรรมทางพาณิชย์ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรอบของย่านสถานี ทางผู้ออกแบบจึงได้จัดวางพื้นที่พาณิชย์ (Commercial Area) ไว้ในส่วนต่างๆของโครงการอย่างบริเวณใต้รางรถไฟ เพื่อให้เป็นการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานใหม่ของสถานีรถไฟยกระดับในอนาคตโดยกระบวนการออกแบบ เริ่มจากการวางผังโครงการ

  1. โถงผู้โดยสารหน้ารางรถไฟ เพื่อให้สังเกตสถานีได้ง่าย และมองเห็นสถานีเก่าฝั่งตรงข้าม
  2. โถงตรวจตั๋วและโถงร้านค้า วางตำแหน่งใต้รางรถไฟเพื่อประโยชน์ใช้สอยของพื้นที่ว่างใต้ราง
  3. อาคารจอดรถและส่วนเสริมของสถานี จัดวางตำแหน่งข้างหลังโครงการไม่ให้บดบังทัศนียภาพ
  4. จัดพื้นที่พัฒนาย่านสถานีในอนาคต และแบ่งถนนรถยนต์ส่วนบุคคล และรถสาธารณะ
Design Process
กระบวนการออกแบบ

กระบวนการออกแบบทั้งการวางผังเพื่อการใช้ประโยชน์พื้นที่ใช้สอย และการออกแบบที่ว่างกับโครงสร้าง ทุกขั้นตอนการเลือกและการออกแบบจะยึดตามประเด็นที่สนใจในการทำโครงการนี้เป็นเกณฑ์ ดังนี้

  1. การสัญจร (Circulation Space) –  จัดวางให้ทางสัญจรหลักแนวขวางที่กระชับมากที่สุด เพื่อระบายผู้โดยสารสะดวก ระยะห่างแต่ละส่วนไม่ไกลจนเกินไป
  2. โครงสร้างและมิติเคลื่อนไหว (Dynamic Space)  –  นอกจากเรื่องความแข็งแรงของอาคาร สถาปัตยกรรมตั้งใจนำเสนอที่ว่างและมิติเคลื่อนไหว ที่รับรู้ได้จากภายนอกและภายในของสถานี
  3. พื้นที่เมือง (Urban Space)  –  สถานีใหม่นี้เป็นอาคารสาธารณะที่เป็นที่ขนส่งผู้โดยสาร และเป็นที่ว่างสีเขียวรองรับการใช้งานของประชาชนในบริบทโดยรอบ รวมถึงรองรับการพัฒนาในอนาคต
แนวความคิดการออกแบบ

 

โครงสร้าง


แนวความคิดหลักของการออกแบบโครงสร้างคือ เรื่องมิติการเคลื่อนไหวของที่ว่าง (Dynamic Space) โดยวิธีการออกแบบนั้น กระบวนการคล้ายกับการทำภาพเคลื่อนไหว (Animation) ที่เกิดจากการนำภาพแต่ละช่วงเวลา(Frame) ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการปรับพิกัด ตำแหน่ง องศา ฯลฯ แล้วนำมาจัดเรียง เมื่อคนมองผ่านหรือเดินผ่าน ก็จะได้มิติการเคลื่อนไหวของที่ว่างที่ตั้งใจ

กระบวนการออกแบบ มิติเคลื่อนไหว

 

กระบวนการออกแบบ โครงสร้างหลังคาสถานี
รายละเอียด โครงสร้างสถานี

 

การวางผัง


ในส่วนของการวางผัง สถานีรถไฟใหม่นี้ออกแบบให้มีทางเข้าหลัก 2 ทาง คือ ทางเข้าหลักทางทิศตะวันตกสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล และทางเข้ารถสาธารณะทางทิศตะวันออกสำหรับรถบัส รถแดง และรถแท็กซี่ นอกจากทางสัญจรแล้ว ยังมีพื้นที่ว่างสีเขียวในโครงการ (ลานอเนกประสงค์) และ ลานสถานีที่เชื่อมไปยังลานสถานีเดิมฝั่งตรงข้าม เกิดเป็นย่านสถานีหรือพื้นที่เมืองแห่งใหม่ของเชียงใหม่

ผังบริเวณสถานีรถไฟความเร็วสูง ตรงข้ามกับสถานีเชียงใหม่ปัจจุบัน

 

ผังพื้นชั้นที่ 1 เป็นพื้นที่สาธารณะเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้บริการพื้นที่ในโครงการนี้ ทั้งในส่วน โถงผู้โดยสารก่อนตรวจตั๋ว(Free Concourse) และพื้นที่พาณิชย์(Commercial Area) ยกเว้นส่วนพื้นที่โถงผู้โดยสารหลังตรวจตั๋ว(Paid Concourse) และ พื้นที่ส่วนงานระบบอาคาร (Service Area) ที่สงวนสิทธิ์เฉพาะผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วและเจ้าหน้าที่สถานี

ผังพื้นชั้นที่ 1 – โถงผู้โดยสาร

 

ผังพื้นชั้นที่ 2 เป็นพื้นที่ส่วนเจ้าหน้าที่และส่วนบริการของโครงการ (Staff & Service Area) โดยมีส่วนเจ้าหน้าที่บริเวณท้ายของอาคารสถานี และส่วนที่จอดรถของอาคารจอดรถที่รองรับทั้งรถยนต์โดยสารและรถจักรยานยนต์ โดยอาคารจอดรถมีที่จอดรถรวม 4 ชั้น

ผังพื้นชั้นที่ 3 เป็นพื้นที่โดยสารรถไฟความเร็วสูง โดยวางเสาโครงสร้างหลังคาชานชาลา ช่วงละ 27 เมตร (ตามความยาวขบวนรถไฟ) ซึ่งทำให้เสาไม่กีดขวางทางขึ้น-ลงขบวนรถไฟ นอกจากชานชาลาที่กำหนดจากแผนแม่บทแล้ว ปลายชานชาลาออกแบบให้เป็นโถงชานชาลา รองรับกิจกรรมระหว่างถ่ายโอน

ผังพื้นชั้นที่ 3 – ชานชาลารถไฟ

 

ระบบอาคาร


การสัญจรในสถานี (Circulation)  –  ผู้โดยสารสามารถเข้าถึงพื้นที่ใช้งานส่วนต่างๆได้ทั้งทางรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล หรือรถยนต์สาธารณะอย่างรถบัส รถแดง และรถแท็กซี่ หรือจะสัญจรทางเท้าเข้ามาสถานีก็ได้ โดยนำเสนอแผนภาพแสดงตัวอย่างการสัญจรในสถานีรูปแบบต่างๆ

Circulation

 

งานระบบสถานี (M&E)  –  งานระบบอาคาร ภาพรวมของงานระบบจะมีศูนย์รวมห้องเครื่องระบบต่างๆอยู่บริเวณปลายอาคารสถานีที่ชั้นหนึ่ง ทั้งงานระบบประปา สุขาภิบาล ห้องทำความเย็น ห้องปั่นไฟฟ้า และหม้อแปลงไฟฟ้า โดยระบบที่สำคัญที่สุด นั่นคือระบบป้องกันไฟ หรือระบบหนีไฟ ออกแบบตามมาตรฐานอพยพ NFPA (National Fire Protection Association) หรือมาตรฐานป้องกันอัคคีภัยสากล ฉบับที่ 130 กำหนดมาตฐานเกี่ยวกับการออกแบบขนส่งมวลชนระบบราง โดยสถานีเชียงใหม่กำหนดให้จุดอพยพจากชานชาลามีระยะไม่เกิน 35 เมตร และมีจำนวนสัญจรทางตั้งขั้นต่ำตามที่คำนวณ

งานระบบสถานี

 

ที่ว่างทางสถาปัตยกรรม


ภาพรวมของที่ว่างกับโครงสร้าง ส่วนต่างๆของงานที่นำมาจัดเรียงกัน โครงสร้างสถานีโดยภาพรวมเป็นโครงสร้างเหล็กด้านบน ถ่ายน้ำหนักลงโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งโครงสร้างบนพื้น และโครงสร้างบนราง ระบบการติดตั้งโครงสร้างแต่ละประเภทเป็นชุดเดียวกันหรือ ระบบModular ที่ต่อกันในทางยาวเป็นหลัก

ภาพตัดดด้านสกัด – ภาพรวมโครงสร้างสถานี

แนวความคิดการออกแบบกับธรรมชาติ โดยการเปิดช่องเปิดด้านข้างของสถานีเพื่อให้ลมธรรมชาติไหลผ่าน ไม่ให้เกิดสภาวะไม่สบาย ในขณะเดียวกันออกแบบหลังคายื่นชายคาเพื่อป้องกันฝนไม่ให้โดนผู้โดยสาร อีกทั้งชั้นบนยังเพิ่มช่องแสงพิเศษ ทำให้แสงสว่างบนชานชาลาไม่มืดเกินไป

 

ภาพตัดด้านสกัด – การออกแบบกับธรรมชาติ

 

แนวความคิดที่ว่างกับโครงสร้าง ที่เกิดจากการจัดเรียงโครงสร้างและองค์ประกอบส่วนต่างๆ ทำให้เกิดพื้นที่ว่างที่มีมิติการเคลื่อนไหวตามจังหวะของโครงสร้าง และองค์ประกอบพิเศษอย่าง ฝ้าผ้า ที่ติดตั้งตำแหน่งใต้รางรถไฟ ซึ่งเลือกใช้ผ้าเนื่องจากผ้าสามารถนำเสนอมิติการรับรู้เคลื่อนไหวที่น่าสนใจ และสามารถออกแบบระดับความสูง-ต่ำของฝ้าเพด่าน ภายใต้ขีดจำกัดของขนาดโครงสร้างรางรถไฟขนาดใหญ่ ทำให้พื้นที่ว่างที่ผู้โดยสารรับรู้จะมีมิติที่ต่อเนื่อง ไม่โดนขัดด้วยโครงสร้างขนาดใหญ่ของรางรถไฟ

ภาพตัดด้านสกัด – ที่ว่างกับโครงสร้าง

 

โครงสร้างสถานีถูกจัดเรียงแต่ละชุดmoduleในทางยาว จนเกิดเป็นที่ว่างที่ต่อเนื่องกัน ทั้งส่วนโถงผู้โดยสารชั้นล่าง และชานชาลาชั้นบน และเพิ่มองค์ประกอบที่สำคัญอย่าง ฝ้าผ้า ที่ออกแบบให้เกิดที่ว่างต่อเนื่องใต้รางรถไฟ และโครงสร้างหลังคาชานชาลาที่ติดตั้งเป็นชุด ชุดหนึ่งมีความยาว 54 เมตร รวมทั้งหมด 6 ชุดต่อเนื่องกัน

ภาพตัดด้านยาว – ที่ว่างกับโครงสร้าง

 

ผังโครงการ สถานีเชียงใหม่ (Layout)

 

ภาพรวมโครงการ สถานีเชียงใหม่ (Overview)

 

ลานพล่าซ่า หน้าสถานี (Plaza)

 

ลานรับส่งรถโดยสารสาธารณะ (Public Transit)

 

โถงพักคอยผู้โดยสาร – สถานีเดิมฝั่งตรงข้าม (Main Hall)

 

โถงจำหน่ายตั๋วโดยสาร (Ticket Hall)

 

โถงหลังตรวจตั๋ว (Paid Concourse)

 

ชานชาลารถไฟ (Platform)

 

ชานชาลารถไฟ (Platform)