ในการออกแบบโครงการสนามกีฬาแห่งนี้ สามารถแบ่งวิธีการออกแบบได้เป็น 2 ส่วนด้วยกันดังต่อไปนี้
1.การออกแบบระบบทางสัญจร และวางผังการใช้งานสนาม
เริ่มต้นจากการวางผังอาคารสนามกีฬาลงไปในที่ดิน ซึ่งมีขนาดที่ค่อนข้างแน่นอน และจัดการออกแบบการจราจรรอบบริเวณโครงการ ให้ง่ายต่อการเข้าและออกในช่วงเวลาใกล้เคียงกันให้ได้มากที่สุด โดยสละที่ดินบางส่วนของโครงการ เพื่อขยายขนาดถนนเดิม และทำวงเวียน เพื่อเพิ่มอัตราการระบายรถในบริเวณคอขวด ให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ และกระจายออกไปทุกๆทางออกอย่างเท่าๆกัน ดังภาพด้านล่าง
หลังจากนั้นจึงออกแบบผังอาคารโดยแบ่งระบบทางสัญจรภายใน ตามประเภทของผู้ใช้ โดยให้ความสำคัญกับผู้ใช้หลักก่อน คือ ผู้ชมทั่วไป ซึ่งจะมีทางสัญจรหลักเข้าสู่ตัวอาคาร กระจายอยู่รอบอาคาร ซึ่งสามารถขึ้นสู่ชั้น 1 ได้ทันที และมีทางเชื่อมจากอาคารจอดรถ และผู้ใช้อื่นๆ จะเข้าสู่ตัวอาคาร ผ่านทางชั้น G
หลังจากนั้นจึงเริ่มพิจารณา รูปทรงของผังที่นั่งในอาคาร C Value ซึ่งบ่งบอกคุณภาพในการมองเห็นของที่นั่งแต่ละที่ ยิ่งมากแปลว่ายิ่งดี โอกาสที่หัวของคนด้านหน้าจะบังการมองเห็นก็จะน้อยลง ซึ่งทั้งสองค่าที่ใช้เป็นระยะที่มากกว่า ค่า Minimum ที่มาตรฐานสากลแนะนำไว้ ซึ่งกำหนดไว้ที่ 90 mm
ส่วนในแนวราบ เนื่องจากที่นั่งบริเวณกลางสนาม ทั้งด้านสั้นและด้านยาว ซึ่งแสดงอยู่เป็นสีเขียวในภาพด้านบน มีคุณภาพการมองเห็นที่ดีที่สุดจึงเลือกให้บริเวณที่เป็นสีเขียวมีที่นั่งอัฒจันทร์ในชั้นที่ 3 เพิ่มขึ้นมา เพื่อให้ผู้ชมได้นั่งในพื้นที่ที่ดีได้มากที่สุด เมื่อสามารถจัดผังที่นั่งของผู้ชมได้แล้ว จึงจังออกแบบผังอาคารเป็นลำดับต่อไป โดยแบ่งได้ออกเป็น 4 ชั้น
2.การออกแบบระบบโครงสร้างหลังคา และเปลือกอาคาร
โครงสร้างหลังคา
เริ่มจากพิจารณาระบบโครงสร้างหลังคาของสนามก่อนโดย เลือกระบบโครงสร้างมาทั้งหมด 3 ระบบด้วยกัน โดยเลือกจากระบบโครงสร้างที่เป็นระบบโครงสร้างที่เป็น Module ย่อย ไม่เลือกโครงสร้างที่ประพฤติตัวเป็นชิ้นเดียวทั้งสนาม เพื่อเอื้อต่อการขยายสนามในอนาคต ตามธรรมชาติของสนามกีฬาของสโมสร ที่พี่การเพิ่มขึ้นของผู้ชมอยู่เสมอๆ
ระบบโครงสร้างที่เลือกมามีดังต่อไปนี้
1.Space Truss cantilever ซึ่งจะมีจุดถ่าย Load หลังคาลงสู่พื้นดิน และจำนวน Member มากที่สุดในสามแบบ
2.Space frame girder ซึ่งใช้ คาน Truss ขนาดใหญ่ พาดคร่อมจากปลายสนามไปยังปลายอีกด้านหนึ่ง ทำให้มีจำนวนจุดถ่ายลงพื้นดินน้อย แต่มี Member คานขนาดใหญ่
3.Tension cantilever ซึ่งใช้วิธีตั้งเสา และใช้แรงดึงในการรับโหลดหลังคาที่ยื่นเข้าไปในสนาม ซึ่งลักษณะโครงสร้างแบบนี้ มีความสามารถในการยื่นหลังคาได้ยาวกว่าระบบ Cantilever ปกติ ทำให้มี Module น้อยกว่าแบบแรก
จากประเด็นทั้งหมดที่พูดมา ทำให้ผมตัดสินใจเลือกรูปแบบโครงสร้างที่สาม ซึ่งมีขนาด Module ของโครงสร้างไม่ใหญ่ ขนาดของ Member ก็ไม่ใหญ่ และประหยัดฐานราก จึงเริ่มนำระบบโครงสร้างมาพัฒนาเป็นโครงสร้างสำหรับอาคาร โดยแบ่งลำดับการพัฒนารูปแบบหลังคาได้ดังต่อไปนี้
1.กำหนดกรอบหลังคา ที่ล้อตามผังที่นั่ง และพื้นที่ใช้สอยต่างๆ
2-3 เนื่องจากประเทศไทยมีฝนตกชุก จึงเลือกให้หลังคาลาดเอียงออกด้านนอกของสนาม เพื่อให้ง่าย ต่อการจัดการน้ำฝน
4.ให้รางน้ำรอบหลังคารับน้ำและระบายผ่านด้านในของเสารับหลังคาต่อไป
5-6 นำผืนหลังคามาแบ่งส่วนโครงสร้าง โดยมีแนวรับแรงหลักคือเส้นสีชมพู ด้านใน และนอกสนาม และ เชื่อมกันด้วยคานโครงเหล็กถัก 2 มิติ
7.นำระบบโครงสร้างของหลังคามาเชื่อมกับตัวเสารับแรงดึง ตัวเสาก็จะรับแรงทั้งจากคานหลักด้านใน และด้านนอก
8.หลังจากนั้นจึงเพิ่ม Stiffness ของโครงสร้างด้วย Bracing ในแนวทแยงตามระนาบหลังคา
9.ได้เป็นรูปแบบหลังคาที่สมบูรณ์
เนื่องจากแรงดึงที่เกิดจากปลายหลังคาด้านในมีมากจึงอาจทำให้เสาที่รับแรงดึงเหล่านี้มีโอการล้มเข้าด้านในได้ จึงเลือกใช้โครงสร้างของเปลือกอาคาร ในการช่วยในการถ่วงน้ำหนักเป็น Counterload และเพิ่ม Stiffness ให้กับตัวเสาจึงเริ่มออกแบบโดยกำหนดกรอบของแปลือกอาคารให้รัดโดยรอบเสาแต่ละเสา
โดยแบ่งลำดับการพัฒนารูปแบบแปลือกอาคารได้ดังต่อไปนี้
1.กำหนดขอบเขตของเปลือกอาคาร
2.เริ่มจากตำแหน่งทางเข้า โดยเลือกยกขอบล่างของเปลือกอาคารให้สูงขึ้นเพื่อเสริมการรับรู้ทางเข้า และมีความแตกต่างในแต่ละบริเวณของสนาม และช่วยแก้ปัญหาเรื่อง Way finding บริเวณโดยรอบสนามได้
3.กำหนดโครงสร้าง โดยมี Member หลักคือกรอบบน และล่างของ Facade ที่จะเชื่อมต่อกับเสาที่รับหลังคา และ มี Member รองแนวตั้งฉากระหว่างขอบบนล่าง
4.หลังจากนั้นจึงใช้โครงสร้างระบบ Diagrid เพิ่มความแข็งแรงให้กับ Facade
5.พิจารณาวัสดุเปลือกอาคารโดยจะต้องมีความสามารถในการกันแดด ในช่วงเวลาการใช้งานอาคาร หรือช่วงตอนเย็น ในทิศตะวันตก และยังเป็นด้านหน้าของอาคารนี้ด้วย
6-7. เนื่องจากบริษัท BG มีไลน์การผลิตกระจกที่ใช้สำหรับงานสถาปัตยกรรม จึงเลือกใช้ Fin กระจก Temper-laminated glass แบบแนวตั้ง โดยใช้ฟิล์มสีซึ่งมีความทึบแสง เพื่อช่วยทำหน้าที่กันไม่ให้แสงแดดเข้าสู่ตัวอาคารโดยตรง และยังสามารถมี การระบายอากาศได้จากภายในสนามได้
8.หลังจากนั้นจึงเอียงระนาบกระจก เพื่อให้สามารถกันแสงแดดได้มากขึ้น และเพื่อยึดกระจกได้จากทั้งปลายขอบด้านใน และขอบด้านนอก
9.จนได้เป็นรูปแบบของระบบโครงสร้างทั้งหมดของเปลือกอาคารนี้