The project of conservation and rehabilitation of the new cultural and economic district, Bang Khun Phrom, arises from the necessity of developing the old city center and important continuation areas of the country, such as the “Bang Khun Phrom District” area, which in addition to being a commercial and residential center in the city. It is also a center for specialized jobs in both government and finance. Moreover, this area is being developed as a pilot area of a subway station amidst the old city.
How will people’s traditional ways of life coexist with future developments as the Old City’s Buffer Zone?
By this project, the objective is to study and find a way to conserve, restore and develop the area. “Bang Khun Phrom District”, which is known as the “Buffer Zone” or cultural buffer zone of Rattanakosin Island (Core Zone), which means work, business, or lifestyle that cannot occur on the Core Zone with restrictions or requirements, creation and activity will be facilitated through the Buffer Zone instead. This area focusing on development issues because it is designated as a dense commercial area in the future but in the old town conservation area. It also examines issues that focus on living and working together between traditional people in the area and new people who will come through the development of urban mass transit such as the Southern Purple Line subway station “Bang Khun Phrom Station”.
From the above issues, this thesis, therefore, proposes a conservation approach along with the restoration of the “Co-Creation” concept to solve problems and create a good identity or memory of Bang Khun Phrom District. In the strategic proposal to develop the area in 3 areas: 1) Economic, rehabilitation, and system improvement. And the physical source of work to increase the proportion of workers in the system from extending at the original cost of work. The goal is to increase the potential and opportunities of the old economy of the city. Build a business that is in line with working people who have changed their behavior. 2) Social and cultural aspects. Combine learning atmosphere Let the cultural core be the public center of the district. But also full of values, beliefs, and faith of the people in the area to important areas with cultural heritage. And 3) Housing and environment; improving the living environment, attracting settlements with access to public transport with amenities within walking distance to increase the proportion of the population living in the area, and create a creative and entertainment district to be flexible when using the space to use it to its full potential.
In the development of the Bang Khun Phrom project area to integrate cultural heritage and create a new economy. There is a design and planning process for 3 design areas, namely, Design Area 1, Bang Khun Phrom Station Area; The community waterfront of Wat Sam Phraya is an area “Learning creative culture near the river” (Riverside TOD: Local Learning Hub), designed area 2, Ruam Yang market area, Samsen Road, and the Bank of Thailand. It is an original work area that was redeveloped in the community area under the concept of “Continuing Finance and Trade in the Old City” (Main Stage Commercial and Financial Office) and the design area No. 3, Rama VIII Bridge Car Repair Area, Wat Mai Amataros Community, and Wat Intharawihan community to be a seamless cultural exchange community area (Mechanical Innovation and Cultural Hub).
Finally, from the study and pilot design in 3 design areas, A sense of unity in the neighborhood will be created through regulations, guidelines, and legal regulations. for sustainable development of Bang Khun Phrom District.


ที่มา ความสำคัญ และแนวทางการพัฒนาโครงการเบื้องต้น
1. Adaptive Reuse เป็นการพัฒนาพื้นที่หรืออาคารที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงสัณฐานเดิมน้อยที่สุด เน้นการปรับเปลี่ยนการใช้งานหรือกิจกรรมในย่านหรืออาคารมากกว่าการเปลี่ยนรูปแบบอาคาร โดยคงรูปแบบโครงสร้างและรูปแบบเดิมไว้ หรืออาจมีการปรับเปลี่ยนรูปด้านอาคารบางส่วน ในโครงการ จะทำในพื้นที่ที่มีอาคารอนุรักษ์หรืออาคารสภาพเก่า ทรุดโทรม แต่มีคุณค่า สามารถฟื้นฟูต่อยอดได้ โดยในโครงการ จะฟื้นฟูบริเวณพื้นที่และอาคารพาณิชย์ถนนสามเสนกับถนนวิสุทธิกษัตริย์เป็นหลัก
2. Right Conversion ในพื้นที่ที่เป็นกรรมสิทธิ์แปลงที่ดินขนาดเล็ก จะทำการรวมแปลงที่ดินแล้วจัดสรร พร้อมกำหนดกิจกรรมหรือกิจการที่สามารถพัฒนาได้ โดยในพื้นที่โครงการ จะเริ่มฟื้นฟูในแปลงที่ดินรอบวัดของแต่ละชุมชน 6 ชุมชน เริ่มนำร่องทำในพื้นที่ 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนวัดอินทรวิหาร ชุมชนวัดใหม่อมตรส และชุมชนวัดสามพระยา
3. Visual Spindle การควบคุมมุมมองของการสร้างอาคารไปสู่พื้นที่ที่มีคุณค่า พื้นที่ศาสนสถาน นำร่อง 3 วัด ตามพื้นที่ออกแบบ และพื้นที่สาธารณะของชุมชน ได้แก่ สวน พื้นที่ริมน้ำและริมคลองlandmark ที่สำคัญภายในย่านและย่านใกล้เคียง เช่น สะพานพระราม 8 เจดีย์วัดภูเขาทอง เป็นต้น
4. Infill & Integrating อาคารตึกแถวอนุรักษ์ จะมีการต่อเติมในเชิงกายภาพและกิจกรรม เพื่อเพิ่มความหนาแน่นให้เต็มศักยภาพ โดยในโครงการจะฟื้นฟูในพื้นที่และอาคารพาณิชย์รอบสถานีบางขุนพรหมระยะ 500 เมตร

แนวคิดการพัฒนา
และจากการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้งานในแต่ละกลุ่ม และการศึกษาประเด็นปัญหาและการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ออกมาเป็นผังแนวคิดการออกแบบโครงการ จำแนกได้ 3 ประเด็น ดังนี้
- ด้านเศรษฐกิจ มีแนวคิดด้วยการกำหนด node เศรษฐกิจใหม่ตามพื้นที่งานเดิมและพื้นที่รอบสถานี ส่วนใหญ่จึงเป็นการพัฒนาในพื้นที่ใกล้เคียงถนนสามเสนและถนนสามเสน และมีพื้นที่ริมน้ำและริมคลอง 3 สายทำหน้าที่เชื่อมกิจกรรมทางเศรษฐกิจเชิงการท่องเที่ยว พร้อมทั้งเชื่อมโยงการเดินทางของย่านข้างเคียง
- ด้านสังคมและวัฒนธรรม เป็นการกำหนด node นันทนาการภายในชุมชน เพื่อเสริมกิจกรรมของอาคารหรือสถานที่อนุรักษ์ โดยเฉพาะวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชนที่น่าเข้าถึง แทรกพื้นที่การเรียนรู้ เป็นพื้นที่ทางสังคมหรือพื้นที่พบปะ เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรมของย่าน
- ด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม เป็นการปรับปรุงโครงข่ายการสัญจรเน้นการเดินเท้าจากขนส่งสาธารณะ ฟื้นฟูตรอกและซอยการเดินเท้าให้สัมพันธ์กับกิจกรรมระหว่างชุมชน และฟื้นฟูกิจกรรมริมน้ำเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีในย่าน
ผังแม่บทการพัฒนา
ในการออกแบบและวางผังพื้นที่โครงการ จะแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของพื้นที่ออกแบบโครงการ 3 พื้นที่ ด้วยการฟื้นฟูตรอกและซอยการเดินเท้า โดย 3 พื้นที่เหล่านั้นคือการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีสู่พื้นที่ริมน้ำ และการเชื่อมต่อถึงย่านการค้าในอาคารสถาปัตยกรรมเก่าที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม เป็นการออกแบบที่เน้นความเชื่อมโยงของชุมชนต่อสถานที่สำคัญ เพราะต้องการสร้างภาพจำต่อย่าน จึงกำหนดแนวทางการฟื้นฟูโซนสำคัญในย่านแทรกการออกแบบแบบโครงการในพื้นที่นำร่องไปด้วย เช่น การฟื้นฟูพื้นที่ริมคลอง และโซนงานราชการ เป็นต้น
โดยพื้นที่โครงการนำร่อง จะมีการพัฒนาแบ่งออกเป็น 3 พื้นที่ แตกต่างกันตามโปรแกรมการพัฒนา ได้แก่
พื้นที่ออกแบบที่ 1 ย่านสถานีบางขุนพรหม ริมน้ำชุมขนวัดสามพระยา ภายใต้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ สังคม-วัฒนธรรม และที่อยู่อาศัย-สภาพแวดล้อม เป็นพื้นที่ “เรียนรู้วัฒนธรรมสร้างสรรค์ริมน้ำ” (Riverside TOD: Local Learning Hub)
พื้นที่ออกแบบที่ 2 ย่านตลาดรวมยาง ถนนสามเสน และธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใต้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจและที่อยู่อาศัย-สภาพแวดล้อม เป็นพื้นที่แหล่งงานเดิมที่พัฒนาใหม่ในย่านชุมชน ในแนวคิด “สานต่อการเงินและการค้าในย่านเมืองเก่า” (Main Stage Commercial and Financial Office)
พื้นที่ออกแบบที่ 3 ย่านซ่อมรถสะพานพระราม 8 ชุมชนวัดใหม่อมตรส และชุมชนวัดอินทรวิหาร ภายใต้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจและสังคม-วัฒนธรรม เป็นพื้นที่ชุมชมแลกเปลี่ยนวัฒนรรมอย่างไร้รอยต่อ(Mechanical Innovation and Cultural Hub)
รายละเอียดการพัฒนาพื้นที่
พื้นที่ออกแบบที่ 1
รายละเอียดการออกแบบพื้นที่ออกแบบที่ 1
พื้นที่ออกแบบที่ 1 Node 1:
รอบสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีบางขุนพรหม ออกแบบส่งเสริมกิจกรรมผสมผสานด้านวัฒนธรรมและดนตรีซอยสามเสน 3 ด้วยการปรับปรุงบรรยากาศซอยนี้ให้เป็น Music Alley หรือพื้นที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์และการถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างกลุ่มเรียนรู้และปราชญ์ชุมชน โดยมีการเปิดพื้นที่เหนือสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินให้เป็นลานแสดงดนตรีสามพระยา ใกล้วัดสามพระยา ส่วนอาคารสถาปัตยกรรมเก่าโดยรอบ กำหนดรูปแบบเพื่อกิจกรรมสาธารณะผสมการอยู่อาศัยของคนในพื้นที่ดั้งเดิมได้ ในขณะที่มีการกำหนดวัสดุ พื้นผิว ในการออกแบบอาคารหากมีการต่อเติมให้คงอัตลักษณ์ของย่านไว้ และกำหนดองค์ประกอบของ Vertical Garden เพื่อดูดซับเสียงในส่วนอาคารที่มีการใช้งานแบบส่วนตัว เช่น ที่อยู่อาศัย ห้องพัก โรงแรม เป็นต้น
กิจกรรมด้านดนตรี ถูกยกมาเป็นมรดกวัฒนธรรมที่ควรต่อยอด เพื่อดึงดูดกลุ่มเรียนรู้ จะสร้างบรรยากาศการใช้ชีวิตในย่านของคนหลากหลายรุ่น และเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ด้วยการเชื่อมโยงพื้นที่ใต้ดิน ซึ่งกำหนดให้เป็นส่วนการเรียนรู้ ถ่ายทอดทักษะ ฝึกทักษะ สู่พื้นที่บนดินเหนือสถานี ให้เป็นลานจัดแสดงดนตรีสามพระยา สร้างความต่อเนื่องของกิจกรรมทั้งในและนอกอาคารตลอดซอยสามเสน 3
บรรยากาศหน้าซอยสามเสน 3 บริเวณจุดขึ้น-ลงของสถานี จะเป็นการพัฒนา node กิจกรรมใหม่ ๆ ไปพร้อมกับการฟื้นฟูอนุรักษ์อาคารเก่าและกิจกรรมดั้งเดิมตลอดซอยจนถึงพื้นที่ริมน้ำ
พื้นที่ออกแบบที่ 1 Node 2:
บริเวณพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาจากปากซอยวัดสามพระยา (ซอยสามเสน 3) มีการพัฒนาอาคารศูนย์กลางวัฒนธรรมริมน้ำ หรือ Cultural Center ซึ่งจะถือว่าเป็น node ของกิจกรรมสาธารณะริมแม่น้ำขนาดใหญ่ ขับเน้นมุมมองทางกายภาพและกลิ่นอายวัฒนธรรมริมน้ำด้วยการเปิดพื้นที่เชื่อมต่อการเข้าถึงจากริมน้ำสู่พื้นที่สถานีรถไฟฟ้าแบบไม่มีซอยตัน กำหนดสี วัสดุ และพื้นผิวของอาคารสำคัญเพื่อประโยชน์ในการใช้งานช่วงเทศกาล หรือการประชาสัมพันธ์ แสดงบรรยากาศที่คึกคักของย่าน (Mapping Storytelling) และท่ามกลางกิจกรรมที่หลากหลาย จะมีการผสมผสานของอาคารที่อยู่อาศัยทางตั้งระยะยาว โดยระเบียบการพัฒนา จะให้สิทธิ์การอยู่อาศัยของคนในพื้นที่ที่อยู่เดิมก่อนกลุ่มคนกลุ่มใหม่
ในบริเวณนี้ จึงเป็นบรรยากาศของพื้นที่ริมน้ำที่สะท้อนกายภาพของเอกลักษณ์เมืองเก่า ที่ไม่ทิ้งเอกลักษณ์ของวัดในย่าน ด้วยการขับเน้นมุมมองริมน้ำ สู่พื้นที่สำคัญอย่างวัดสามพระยา ศูนย์กลางชุมชนในละแวกนั้น ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการเชื่อมโยงกิจกรรมด้วยทางเดินริมน้ำ เข้าสู่พื้นที่ใต้สะพานพระราม 8 ที่แต่เดิมเป็นเพียงพื้นที่จอดรถและพื้นที่ลานดาดแข็งทั่วไป ถูกปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่นันนทนาการเพิ่มเติมในย่าน ด้วย pocket space เล็ก ๆ ตอบรับความต้องการของคนในย่านและผู้มาเยือน
พื้นที่ออกแบบที่ 2
ย่านตลาดรวมยาง ถนนสามเสน และธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใต้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจและที่อยู่อาศัย-สภาพแวดล้อม เป็นพื้นที่แหล่งงานเดิมที่พัฒนาใหม่ในย่านชุมชน ในแนวคิด “สานต่อการเงินและการค้าในย่านเมืองเก่า” (Main Stage Commercial and Financial Office)
เป็นการฟื้นฟูย่านการค้าและบริเวณตลาดนัดรวมยาง ควบคู่กับการเป็นสำนักงานหลักของการบริการการเงินบนถนนสามเสน ตรงข้ามธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยโปรแกรม Financial Office Hub
รายละเอียดการออกแบบพื้นที่ออกแบบที่ 2
การออกแบบพื้นที่จะทำการรวมแปลงที่ดินในการพัฒนาและฟื้นฟูอาคารเก่าริมถนนสามเสน พร้อมใช้แนวคิด Community Courtyard ในการสร้าง Activities Courtyard เนื่องจากมีพื้นที่จำกัดในการพัฒนาอาคาร จึงเสนอให้ใช้พื้นที่ส่วนกลางร่วมกัน และเพื่อเพิ่มความคึกคักของกิจกรรม จึงเสนอให้อาคารริมถนนเป็นการใช้งานอาคารที่ active ทั้งหมดเพื่อดึงดูดผู้คน ซึ่งโปรแกรมการพัฒนาจล้วนเป็น showroom, workshop space ทั้งในรูปแบบภายในและภายนอกอาคาร
ในส่วนของพื้นที่พบปะใหม่ของโซนนี้ จะเพิ่มองค์ประกอบของ Multi-level space เป็นพื้นที่ทางสังคม เน้นใช้งานในช่วงเวลากลางวันและช่วงเย็นหลังเลิกงาน ซึ่งจะทำให้บรรยากาศในโซนนี้เป้นการผสมผสานกิจกรรมพาณิชย์กับการอนุรักษ์อาคารเก่า คู่กับการต่อเติมอาคารใหม่ เพิ่มศักยภาพการใช้งานอาคารอย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ยังเห็นบรรยากาศของรถเข็นค้าขายดั้งเดิมอยู่
องค์ประกอบประเภทกลุ่มอาคารที่ต่อเติมใหม่ ทำการ setback จากถนนสามเสนไปเป็นที่อยู่อาศัยใหม่และสำนักงานใกล้ชุมชน และมุมมองจากตรอกและซอยในบริเวณนี้จะสามารถมองเห็นถึงเอกลักษณ์ที่สำคัญประจำย่านอย่างวัดอินทรวิหารได้
พื้นที่ออกแบบที่ 3
ย่านซ่อมรถสะพานพระราม 8 ชุมชนวัดใหม่อมตรส และชุมชนวัดอินทรวิหาร ภายใต้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจและสังคม-วัฒนธรรม เป็นพื้นที่ชุมชมแลกเปลี่ยนวัฒนรรมอย่างไร้รอยต่อ (Mechanical Innovation and Cultural Hub)
เป็นการฟื้นฟูย่านซ่อมรถ ร้านอะไหล่ งานช่าง และสร้างความเชื่อมโยงใหม่ของพื้นที่ชุมชนสองฝั่งสะพานพระราม 8 ช่วงกลาง บนถนนวิสุทธิกษัตริย์
รายละเอียดการออกแบบพื้นที่ออกแบบที่ 3
การออกแบบพื้นที่ในเชิงกายภาพ พื้นที่อาคารริมถนนจะสามารถเข้าถึงได้ทั้งหน้าและหลัง ใช้แนวคิด Community Courtyard เป็นพื้นที่ทางสังคมของผู้ใช้งาน เปิดพื้นที่ลานแสดง ทดลอง เกี่ยวกับธุรกิจยานยนต์ และในโปรแกรมด้านอาหาร นำแนวคิด Improvement Public Realmออกแบบพื้นที่รองรับกิจกรรมการใช้ชีวิตของคนในชุมชน ด้วยการทำให้การใช้ชีวิตรูปแบบปกติอย่างการกินอาหารมาเป็นวัฒนธรรมการค้าชีวิตประจำวัน (Food Services Center) สร้างความมั่นคงในเศรษฐกิจของชุมชน
ส่วนด้านการเชื่อมต่อ และเนื่องจากในอนาคตจะเน้นการเดินเท้ามากขึ้น กับการสนับสนุนให้ใช้ขนส่งมวลชนหรือรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จึงจะมีการฟื้นฟูทางเดินเท้าด้วยการขยายทางเท้าเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีความกว้างประมาณ 1.5 เมตร เพิ่มเป็น 3.5 เมตร ยิ่งไปกว่านั้นยังทำให้ร้านซ่อมรถใช้พื้นที่ทางเท้าบางส่วนหน้าร้านเป็น showroom หรือพื้นที่กิจการเพิ่มขึ้นอีกแบบไม่รบกวนคนเดินเท้า
สรุปรายละเอียดการออกแบบที่เชื่อมโยงกิจกรรมทั้งพื้นที่ใต้ดินและบนดินได้ ดังนี้
บนดิน: ส่วนสัมมนา (ที่ประชุม + ที่พักอาศัย)
ส่วนงานช่าง (พื้นที่ซ่อม ทดลอง เรียนรู้)
ใต้ดิน: กิจกรรมบริการงานซ่อมรถไฟฟ้า อะไหล่รถไฟฟ้า (Skill Labor Incubator)
บรรยากาศในพื้นที่ออกแบบนี้ เสนอภาพแสดงมุมมองและการเชื่อมโยงสองฝั่งสะพานผ่านภาพที่ 6.4 ที่นอกเหนือจากรายละเอียดการออกแบบ มีการใช้สะพานเป็นตัวเชื่อมโยงชุมชน 2 ชุมชนด้วยแนวคิดงานสร้างสรรค์ โดยทำแกน Temporary Creative Space เชื่อมต่อจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง เข้าสู่ตรอกและซอยของชุมชนที่ได้รับการฟื้นฟูมุมมองขับเน้นคุณค่าของย่านด้วยมุมมองวัดสำคัญอย่างวัดใหม่อมตรส และมุมมองสะพานพระราม 8 ที่อาจจะเป็นปลายทางในการมาเยือนย่านจุดต่อไป
มาตรการการพัฒนาย่านบางขุนพรหม
มาตรการเชิงลบ: การออกข้อกำหนดฟื้นฟูอาคารและมาตรการทางภาษีสำหรับพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าในการพัฒนาใหม่
มุ่งเน้นไปที่การกำหนดเกณฑ์ภาษีจากพื้นที่ที่ได้ประโยชน์จากการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้า ขณะเดียวกัน มีการกำหนดกิจกรรม หรือกิจการว่าสามารถประกอบธุรกิจใดได้บ้าง เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางการออกแบบ เกิดกิจกรรมและการใช้ประโยชน์อาคารแบบผสมผสาน พร้อมคงคุณค่าของพื้นที่แต่ละโซน และสุดท้าย คือข้อกำหนดการขึ้นความสูงของอาคาร เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตอนุรักษ์ โดยคำนึงถึงการสร้างอาคารรอบศาสนสถานที่ไม่บดบังมุมมองที่มีคุณค่า ข้อกำหนดอาคารรอบสถานีในระยะ 500 เมตร ที่สามารถขึ้นอาคารสูงได้ไม่เกิน 30 เมตร ขณะที่พื้นที่ริมน้ำสามารถขึ้นอาคารสูงได้ไม่เกิน 45 เมตร และการจัดสรรการใช้ประโยชน์อาคารส่วนหนึ่งให้เป็นพื้นที่พักอาศัย
มาตรการเชิงบวก: ดึงดูดผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ โดยทางภาครัฐช่วยค่าใช้จ่ายในการพัฒนา
เพื่อสร้างอัตลักษณ์และความเป็นหนึ่งเดียวในการรับรู้เชิงกายภาพของย่าน มีข้อกำหนดวัสดุ สีสัน และรูปแบบหน้าตาอาคารที่คงแนวคิดการอนุรักษ์อาคารเก่าคู่การพัฒนาอาคารใหม่ โดยในส่วนของอาคารที่ต่อเติม ต้องมีช่องเปิดหรือหน้าอาคารโปร่งแสง เห็นกิจกรรมได้อย่างน้อย 1 ใน 4 ของตัวอาคาร หากมีกิจกรรมในรูปแบบ active ส่วนการออกแบบหน้าอาคาร (façade) จะเป็นลวดลายที่สะท้อนความเป็นย่านเก่าแต่ร่วมสมัย ห้ามทำ façade แบบทึบแสง และสำหรับรูปแบบอาคารหรือตึกแถวที่เป็นสถาปัตยกรรมเก่า จะคงรูปแบบเดิมไว้แบบเพิ่มข้อกำหนดในการติดตั้งป้าย ข้อความ การใช้พื้นที่หน้าร้านเพิ่มเติม
แนวทางการออกแบบและการฟื้นฟูพื้นที่และกิจกรรมริมน้ำ
แนวทางการออกแบบและการฟื้นฟูพื้นที่และกิจกรรมริมน้ำ 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา คลองผดุงกรุงเกษม แลคลองวัดสังเวชฯ (คลองรอบกรุง) ผ่านแนวคิด Float and Open คือการปรับปรุงการเข้าถึงริมแม่น้ำ ด้วยการเพิ่มพื้นที่ชุมน้ำจากพื้นที่ดาดแข็ง และใช้การเล่นระดับพื้นดิน (step) ในการเปิดมุมมองสู่ริมแม่น้ำและเพื่อเป็นระดับของการป้องกันน้ำท่วม ขณะเดียวกันเพื่อฟื้นฟูความเสื่อมโทรมเมื่อไม่ได้ถูกใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพมาอย่างยาวนาน จึงมีการสร้างบรรยากาศริมคลองให้พื้นที่ชั้น 1-2ของอาคารเป็นกิจกรรมแบบ active เนื่องจากเป็นรอยต่อด้านเศรษฐกิจเชิงการท่องเที่ยวของย่านใกล้เคียงอย่างย่านบางลำพูและถนนข้าวสาร
สภาพแวดล้อมและการควบคุมกายภาพของย่านมีความเข้าใจในการพัฒนาเชิงการเสนอเป็นข้อกำหนด และการใช้ข้อกฎหมายบังคับ แต่ยังไม่สามารถเข้าใจได้ในทันทีว่าต้องการให้รับรู้ภาพรวมย่านไปในรูปแบบมุมมองใด (จะสามารถ recognize ย่านบางขุนพรหมได้อย่างไร) ส่วนประเด็นของโครงสร้างสะพานที่แบ่งชุมชนออกเป็นสองฝั่ง หากมองในอีกมุม อาจต้องคำนึงถึงการพัฒนาในรูปแบบ Separation หรือการตัดขาดเนื้อเมืองได้ เมื่อบางขุนพรหมแสดงให้เห็นว่ามีความหลากหลายของกลุ่มคน มรดกวัฒนธรรม รูปแบบการใช้ชีวิตและการทำงานที่แตกต่างกันเป็นอย่างยิ่ง